22 December 2006

คนปลูกข้าวกับมหาลัยของรัฐ

ผมขอเปิดประเด็นถึงความจำเป็น ที่มหาวิทยาลัยจำต้องออกนอกระบบราชการ สาเหตุหลักๆ ก็คือ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ อันนี้หมายถึงว่าในระดับโลก ไม่ใช่แค่เป็นเลิศในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ หรือ มหิดล ฯลฯ เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นเลิศในสาขาต่างๆ แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี หากไปเทียบในระดับโลกแล้วจะเห็นได้ว่ามีเพียงจุฬาฯ เท่านั้นที่ติดอันดับ Top 200 และกำลังหล่นลงในไม่ช้า

ความจำเป็นประการแรกที่มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบคือ ระบบราชการที่ออกแบบมาเป็นสูตรสำเร็จสำหรับทุกกระทรวง ทบวง กรม ไม่เหมาะสำหรับ องค์กรเพื่อการเรียนรู้และผลิตบัณฑิต

อาจารย์ต้องการเสรีภาพทางความคิด ในทางปฏิบัติแม้ว่าอาจารย์จะได้รับการยกเว้น ไม่มีคำบังคับบัญชามามากมายนัก แต่อย่างไรก็ดีการทำงานในด้านนโยบายกลับไม่เป็นเช่นนั้น รัฐบาลมักเข้าแทรกแซงกิจการของมหาวิทยาลัยเป็นระยะๆ เมื่อการบริหารขาดความเป็นอิสระแล้วไซ้ร กระไรเลยที่จะนำความคิดอิสระของคณาจารย์มาลงสู่การปฏิบัติ ดังนั้นการออกนอกระบบราชการหมายถึงการนำมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่รวมของปัญญาชนออกมาจากสายบังคับบัญชาของข้าราชการและนักการเมือง

มหาวิทยาลัยจำต้องมีคนเก่งและมีความสามารถที่จะรักษาคนเก่งเหล่านั้นไว้นานที่สุด อาจารย์ที่เก่งๆ ยิ่งอยู่นานเท่าไรก็ยิ่งเก่ง ผิดกับอาจารย์ที่เคยเก่งแต่อยู่ไปนานๆก็ยังคงสอนแต่ความรู้ที่ตนเรียนมา ตกยุคไปแล้วก็ยังขุดมาสอน ลองไปดูอาจารย์ใหม่ๆซิครับ อัตรานักเรียนทุนที่จบจากเมืองนอกแล้วมาเป็นอาจารย์ หมดภาระใช้ทุนเมื่อไรก็ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน หรือไม่ก็ไปสอน ม.เอกชน ความมั่นคงของรัฐกับความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมันไม่ได้ไปด้วยกันในระบบราชการ เมื่อเราออกนอกระบบราชการ มหาวิทยาลัยสามารถจัดอัตรากำลังอาจารย์ให้ไปสอนยังมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ตามกฎหมาย นั้นหมายความว่า มหาลัยก็ได้ อาจารย์ก็หากินได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่ใช่เหมือนทุกวันนี้ที่อาจารย์หลายๆคนโกงเวลาราชการไปสอน ม.เอกชน
หากลองคิดถึงความคุ้มค่าจะเรียกได้ว่ามหาลัยในยามนี้ขาดทุนมากๆ เพราะเป็นคนสร้างนักเรียนทุน บ่มเพาะอาจารย์ แต่เมื่ออาจารย์เหล่านั้นมีความสามารถเป็นที่ต้องการของสังคมกลับถูกซื้อตัวไปด้วยราคาที่จัดว่าถูกมาก และมีแรงจูงใจให้อาจารย์ทุมเทการสอนมากกว่าใน มหาลัยในระบบราชการอีกด้วย
ตรงนี้ผมเปรียบเหมือนกับชาวนา ชาวนาปลูกข้าวด้วยความพิถีพิถัน ดูแลกล้าแต่และต้นแต่ละแปลง แต่พอข้าวเผยรวงทอง ก็มีนายทุนเจ้าของโรงสีมาเก็บเอาข้าวไปขาย ชาวนาจะกินข้าวก็มาตำครกกันไป แล้วคิดตามละกันว่าข้าวจากครกของชาวนา กับข้าวที่ออกจากโรงสี ของใครจะมีคุณภาพดีและขายได้ดีกว่ากัน

หากวันนี้มหาลัยไทยยังตำครกกันอยู่ก็เห็นที่จะแพ้เพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้กันหมดใน 10-20 ปีข้างหน้า สิงคโปร์วันนี้อยู่ในอันดับ top 100 เวียดนามกำลังเร่งพัฒนาตามเรามาติดๆ มาเลย๋วันนี้ก็เข้า win มาถึง 2 มหาวิทยาลัย แล้วเราละ?? อย่าลืมนะว่า จุฬาฯ ที่ ร.6 พระราชทานมาให้ เกิดขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแรกในภูมิภาคนี้เลยนะครับ แล้ววันนี้เราทำอะไรกันอยู่ อยู่ในระบบผู้บริหารบริหารกฎหมาย และระเบียบราชการ
ออกนอกระบบคงได้เริ่มบริหารการศึกษากันเสียที

15 December 2006

นิสิตกับม.ออกนอกระบบ

เมื่อวานเย็น(14 ธ.ค.49) ติดตามอ.นิวไปเสวนาเรื่อง ม.นอกระบบใครได้ใครเสีย ห้องประชุมวิศวะฯ จัดโดยสภานิสิตจุฬาฯ ผู้ฟังมีทั้งนิสิตและอาจารย์คนนอกก็มีอยู่บางเท่าที่ได้คุยก็มีนักศึกษาจากธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งกับ ม.กรุงเทพฯอีกกลุ่ม ผมว่าคนที่มาฟังนิสิตจะดูกลางๆและอยากรู้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใน แต่พวกอาจารย์นี้ไม่ได้มาฟังเป็นเป้าหมายหลัก หากแต่มาพูดกับมาดักคอฝ่ายบริหารเสียเป็นส่วนใหญ่ งานนี้ดีที่มีท่านจรัญฯ ปลัดยุติธรรมมาด้วย อย่างไรก็ตามฝ่ายที่คัดค้านพูดนอกเรื่องนอกประเด็นเสียมาก เขาให้มาพูดว่านิสิตจะได้อะไรเสียอะไร แต่กลับมาสอนถึงรัฐสวัสดิการ ทำไมต้องออก ออกแล้วจะดีได้อย่างไร หาตรรกะไม่ค่อยได้ ข้อมูลเท็จก็มีเยอะ เอาว่าไม่ใช่แค่ผิดหรือพลาด แต่เล็งเห็นผลเลยละครับ ผมละสะเทือนใจมากที่เห็นอาจารย์จุฬาฯเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าจะมารยาทในการเสวนา การให้เกียรติกันในฐานะอาจารย์ หรือมารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดีและรับฟังคนอื่น ผมเพิ่งมารู้ว่าในที่ๆมีแม่พิมพ์ที่ดีสุดในประเทศซึ่งประกอบด้วยคนที่มีความรู้ดีที่สุด แต่นั้นไม่ได้รับประกันว่าอาจารย์เหล่านั้นจะเป็น "ผู้ดี" ในสายตาของผมเลย ไม่เถียงในประเด็นความรู้ที่ท่านมี แต่ขอสอนในเรื่องมารยาทของผู้ดีหน่อยนะครับ จะเป็นรัฐสวัสดิการหรือไม่ ไม่สำคัญ หากท่านอาจารย์เพื่อประชาธิปไตยเหล่านั้นยังไม่เข้าใจว่าการรับฟังที่ดีเป็นอย่างไร เสียแรงเปล่าครับที่จะสู้เพื่อประชาธิปไตย
งานนี้ต้องขอชมอาจารย์จรัญมาก สอนให้รู้ว่า "สงบนิ่ง สยบความเคลื่อนไหว" นั้นเป็นอย่างไร เพชรนั้นแม้จะถูกแทะ ถูกนำไปคลุกกับความโสโครก เพชรก็ยังเป็นเพชร ทนงในศักดิ์ศรีของตนเองและไม่สนว่าใครจะว่าอย่างไร เรารู้ตัวดีเองว่าเราเป็นอย่างไรเดียวคนที่เอาค้อนมาทุบเพชรก็เจ็บมือไปเอง.....
สำหรับเรื่อง ม.นอกระบบขอพักไว้ก่อนนะครับ ขออย่างเดียวว่าให้มีข้อมูลที่แท้จริงในมือ อ่านกฎหมายที่ร่างมา อย่าฟังข้างเดียว เอาตนเองเป็นหลักอย่าตามกระแสที่คนอื่นปลุกปั้นมาให้ หากคุณค้านเพราะคุณเข้าใจว่ามันไม่ดีจริงบนข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ผมก็ไม่อาจตำหนิคุณได้เลยแถมจะยกย่องคุณอีกด้วย เพราะหัวใจของคำว่าประชาธิปไตยส่วนหนึ่งคือ "เป็นผู้ฟังที่ดี และยอมรับความคิดที่แตกต่าง"

12 December 2006

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

ข่าวคัดค้านมหาลัยออกนอกระบบ
http://www.komchadluek.net/2006/12/08/a001_72730.php?news_id=72730


ก่อนอื่นต้องขอโทษที่ไม่ได้มา Post เสียนาน ช่วงนี้งานยุ่งมากๆอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทำงานเหมือน Law Firm แต่รับเงินแบบราชการ แย่เหมือนกันนะครับ งานส่วนใหญ่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอร่าง พรบ.จุฬาฯ ออกนอกระบบ แต่ก่อนตอนเป็นนิสิตก็เคยค้านการออกนอกระบบ ไม่นึกว่าวันหนึ่งจะต้องเข้ามาจับเรื่องนี้อย่างหลีกเสียไม่ได้ เหตุผลการออกนอกระบบฝ่ายมหาลัยผมคิดว่าฟังขึ้นมากกว่าฝ่ายค้านนะครับ หลังจากที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมาระยะหนึ่ง เห็นระบบราชการที่เรียกว่า "เช้าชามเย็นครึ่งชาม" แล้วก็ท้อใจ มันจะติด 1 ใน 100 มหาลัยโลกใดอย่างไรหากระบบบริหารงานมหาลัยยังใช้ระบบราชการ ทรัพยากรบุคคลในตอนนี้แทบจะเรียกว่าไม่ส่งเสริมด้านคุณภาพเสียเลย หากผมได้เห็นการทำงานทางฝ่ายวิชาการแล้วคงจะมีแผลอีกเยอะที่ต้องรักษา
ประเด็นแรก ฝ่ายที่ค้านการออกนอกระบบมักจะยกประเด็น "แปรรูปมหาวิทยาลัย" มาเสนอ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่การแปรรูปแต่อย่างไร การออกนอกระบบไม่ใช่การ "Privatization" หรือการแปรรูปเป็นเอกชน การออกนอกระบบพนักงานมหาวิทยาลัยก็ยังเป็นพนักงานของรัฐเพียงแต่ออกไปไม่อยู่ในบังคับบัญชาของ กระทรวงศึกษาซึ่งเป็นราชการส่วนกลางก็เท่านั้น แค่ประเด็นนี้หากจะอธิบายให้คนที่ค้านเข้าในก็คงต้องยกกฎหมายมาว่ากันอย่างน้อย 4 ฉบับ และต้องอธิบายอีกว่า Privatization คืออะไร
ประเด็นที่สอง คือ เสรีภาพทางวิชาการ การแสดงความคิดเห็นของอาจารย์ พนักงาน เรื่องนี้ก็ถูกบิดเบือน หากจะวัดกันจริงๆแล้วการออกนอกระบบจะเป็นการเปิดเสรีภาพมากกว่าที่จะปิดกั้นเสรีภาพนะครับ เพราะอาจารย์จะไม่อยู่ภายใต้ระเบียบ ก.พ. อีกต่อไป วินัยต่างๆของข้าราชการก็ไม่จำกัด ผมเห็นว่าเป็นพนักงานนี้เสรีภาพมากกว่าเห็นๆ
ประเด็นที่สาม ประเด็นนี้เป็นประเด็นทางสังคม คือ หากออกนอกระบบแล้วนักเรียนจนๆจะไม่มีที่เรียน ข้อนี้ต้องเขียนในฐานะศิษย์เก่าจุฬาฯ ผมบอกได้เลยว่าปัจจุบันนิสิตที่จนจริงๆในจุฬาฯ หายากเต็มทน และส่วนใหญ่ที่จนก็เป็นพวกที่ได้รับทุน คนจนในมหาลัยประมาณเอาผมว่าไม่น่าจะเกินร้อยละ 10 เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าระบบ Entrance มันกำหนดฐานะเด็กในมหาลัย ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า กว่าจะเอ็นฯเข้าจุฬาฯได้ นิสิตนั้นต้องใช้ทุนในการเรียนกวดวิชา ถึงหากไม่เรียนก็ต้องมี Tutor ที่ดี มีข้อมูล มีหนังสือ หรือช่องทางในการกวดวิชา สิ่งเหล่านี้มีต้นทุนครับ ผมเองก็ไม่ได้เรียนกวดวิชาแบบเอาเป็นเอาตาย ลงไปแค่ 2 courses ยังหมดไปหลายพัน หากนับรวมกับสื่ออื่นๆที่ใช้ในการทบทวน ก็เป็นหมื่นละครับ แล้วคิดหรือว่าคนจนๆจะเอ็นฯติด ถึงมีก็มิใช่ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดีมหาลัยก็มีทุนที่ดึงเอาเด็กจากต่างจังหวัดมาเรียนอยู่แล้ว ไม่เชื่อลองไปหาดูที่หอในดูก็ได้ครับมีเยอะ ฉะนั้นผมเห็นว่าข้ออ้างนี้ฟังไม่ขึ้น

วันนี้พ่นมาเยอะแล้ว เอาไว้มีโอกาสจะมาระบายให้อ่านอีกนะครับ

23 November 2006

เพลินการเมือง

" สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไม่ว่ายุคใดไม่ใช่กำลัง อำนาจ หรือเงินตรา หากเป็น ความคิดโดยเเฉพาะ ความคิดแม่บท ซึ่งเป็นกรอบกำหนดให้คนมีทัศนะและท่าทีต่อการดำเนินชีวิตทางเศรษฐกิจ ทางสังคม หรือทางการเมือง
...ในอดีตมนุษย์เรามีผู้ครุนคิดอยู่แทบทุกมุมโลก แต่ความคิดแม่บทของคนโลกซีกตะวันตกกลับมีอิธิพลอย่างมาต่อชาวโลกเกือบทั้งหมด..ในแง่นี้โลกเราจึงแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ไม่ใช่โลกที่ยากจนกับโลกที่ร่ำรวยแต่เป็นโลกที่ผลิตความคิดแม่บทกับโลกของผู้บริโภคหรือเสพความคิด
...ผมเห็นว่า ถ้าเราอยากอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ให้รอดและอยู่ดี เป้าหมายของเราไม่ควรหยุดอยู่ที่การอยากเป็น "สังคมความรู้" แต่ต้องมุ่งเป็น "สังคมที่คิดเป็นและคิดชอบ"
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย

ที่มา : ชัยอนันต์ สมุทวนิช, เพลิน, กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2541 ปกหลัง

10 November 2006

Pragmatism เหตุผลที่นำมาหักล้างพวก Creative


ผมไปอ่านบทความของคุณธงชัย แห่งสำนักวิสคอนซินมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับ pragmatism หรือพวกมุ่งผลโดยไม่สนวิธีการ อยากให้อ่านดูนะครับ หลายๆอย่างที่นำมาเขียนก็เป็นเรื่องจริงที่ผู้เขียนเสียดสีได้อย่างเมามัน ผมก็เห็นด้วยในหลายๆเรื่อง แต่ขอตั้งประเด็นไว้ตามนี้ละกันนะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_119333.jsp

1.ผู้เขียนเป็นพวก pragmatism พวกหนึ่งหรือไม่?
2.ทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกจัดว่าเป็น pragmatism ในความหมายของผู้เขียน
3.วิธีการ (means) กับ เป้าหมาย (Goal) อะไรมาก่อนกัน และอะไรที่เป็นตัวกำหนดวิธีการจริงๆ

สำหรับผมเองแล้วคนที่โพสต์ข้อความส่วนใหญ่ไม่น่าจะเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนสื่อซักเท่าไร อยากให้คุณคิดความเห็นของตนเองก่อนที่จะอ่านความเห็นคนอื่นนะครับ
สำหรับผมแล้วคิดว่า pragmatism คงอยู่กันคนละขั่วกับคำว่า creative เนื่องด้วย pragmatist จะอยู่ในกรอบของตนที่วางหลักเอาไว้ แต่พวก creative จะพยายามเอาตนเองออกนอกกรอบความคิดที่คนอื่นสร้าง หาช่องว่างแล้วใส่อุดมคติตนลงไป พวกแรกอาจจะมองว่าแม้แต่หลักการที่จะต้องออกจากกรอบเดิม ก็เป็น pragmatism ประเภทหนึ่ง ทำไมต้องยึดหลักเยี่ยงนั้นด้วยเล่า
สิ่งเดียวที่ผมคิดได้และจะมาเป็นบรรทัดฐานของ pragmatism ก็คือคำว่า ศีลธรรม และความชอบธรรมอันมีอยู่ส่วนตนนั้นเอง

เติ่ง เสียว ผิง ได้บอกว่า แมวไม่สำคัญว่าสีอะไร ขอให้จับหนูได้เป็นพอ
คณะราษฎร์บอกว่า การปกครองไทยควรจะมาจากประชาชน (ต้องเป็นพวกพ้องของตน ไม่ใช่เจ้า ไม่ใช่กษัตริย์)
ผมบอกว่า แมวไม่สำคัญว่าจะจับหนูได้เก่งเพียงใดก็ไม่ดีเท่าใช้ยาเบื่อ เพราะผลคือหนูตายเหมือนกัน (Pragmatism) ('',)

20 October 2006

When minority rules majority

ช่วงนี้การบ้านการเมืองเริ่มเกิดอาการเฉื่อย ผมว่าความตื่นตัวด้านการเมืองของผมลดลงมาก อ่าน นสพ.เรื่องการเมืองน้อยลงแต่ใส่ใจกับปรัชญาการเมืองที่มีในอดีตมากขึ้น สำหรับประเด็นที่ผมหยิบมาในวันที่คือ ประชาธิไตยของคนกลุ่มน้อย วันนี้ผมไม่แน่ใจว่าเราถูกปกครองโดยคนกลุ่มน้อยของประเทศหรือเปล่า สังเกตว่าสื่อจะให้ความสนใจกับคนที่ออกมาคัดค้านเป็นพิเศษแต่ไม่ให้น้ำหนักกับคนที่สนับสนุน อันนี้ผมเห็นว่าแปลกมากและไม่มีตรรกะเอาเสียเลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการรัฐประหารได้นายกพระราชทานมา เสียงจากทางฝ่ายไทยรักไทยหายไปเกือบหมด การออกมาชี้แจงของโฆษกพรรคแทบจะไม่มีบทบาทอะไรมากมาย ประเด็นห่วยใต้ดิน การห้ามโฆษณาเหล้า หรือแม้แต่จำกัดอายุผู้ดื่มเหล้า เรื่องที่สื่อออกมามีแต่เห็นด้วย เห็นด้วย และ เห็นด้วย ทั้งๆที่จริงๆในสังคมที่มีเสรีภาพ มันควรแสดงน้ำหนักของผู้คัดค้าน ออกมาเท่าๆกับผู้สนับสนุน ส่วนใครจะเชื่ออย่างไรนั้นเป็นการใช้เหตุผลแบบวิพากษ์วิธี สิ่งที่ผมเห็นในวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้น สื่อไม่ได้ถูกปิดกัน แต่สื่อทำตัวเหมือนกระจกเงาที่แตกเป็นสองส่วน แต่สะท้อนออกมาเฉพาะส่วนที่เป็นส่วนน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปิดกัน ยกตัวอย่างในวันนี้คือการที่ อาจารย์มีชัย ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้ามีส่วนร่วมในสภานิติบัญญัติ ทั้งนี้รวมไปถึง อ.วิษณุและ บวรศักดิ์ด้วย อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯคนหนึ่งให้เหตุผลว่า เพราะคนเหล่านี้ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองขึ้น สำหรับคนที่เคยอยู่ในรัฐบาลก่อนก็สามารถเตือนทักษินได้แต่ไม่ทำ เห็นได้ชัดว่าไม่กล้าแม้เพียงจะขัดแย้งกับอำนาจมืด ว่ากันไปนั้น แม้เหตุผลจะดูตื้นๆและใช้เหตุว่าอะไรที่เกี่ยวพันกับทักษินเป็นผิดไปหมด ไม่ดูผลงานที่เคยทำในอดีตมาชั่งน้ำหนักอย่างนี้จะเป็นธรรมได้อย่างไร สื่อก็แสดงแต่พวกคัดค้าน พวกสนับสนุนไม่เห็นมี แปลกนะ อย่างนี้หรือที่เรียกว่าเสรีภาพของสื่อ
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อในประชาธิปไตยพหุนิยม คือคนส่วนน้อยก็จะต้องมีสิทธิมีเสียงแต่คนส่วนใหญ่ย่อมสำคัญกว่า ไม่ใช่รัฐจะตอบสนองเฉพาะคนส่วนใหญ่ ผมเห็นว่าตอนนี้คนส่วนน้อยปกครองคนส่วนมาก ไม่ใช่ว่ากันโดยระบบผู้แทน แต่เป็นการวัดจากความเชื่อ รัฐบาลเริ่มมีนโยบายแบบรัฐราชการ คือสั่งอย่างเดียว คุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาก คำถามคือ ผู้ใช้อำนาจรัฐตอนนี้เป็นผู้ที่สะท้อนภาพของคนส่วนใหญ่หรือไม่ และ การวางนโยบายของรัฐตอบสนองคนส่วนใหญ่หรือไม่ ประชานิยมกับรัฐสวัสดิการแตกต่างกันอย่างไร หากประชานิยมไม่ดีจริงทำไมรัฐบาลพระราชทานชุดนี้จึงไม่ล้มโครงการต่างๆทิ้งเสีย เราพึงระมัดระวังสิทธิเสรีภาพของเราไว้เถิด อย่าวางใจนักบุญฟ้าประทานเสียหมดหัวใจ.............

06 October 2006

พักเรื่องการเมือง มาแนะนำหนังสือน่าอ่าน


ตอนนี้กำลังอ่านเรื่อง โลกของโซฟีอยู่ครับ เป็นหนังสือที่อาจารย์นันท์ แห่ง นิติศาสตร์จุฬาฯแนะนำให้อ่านในวิชา ทฤษฎีกฎหมายมหาชน ตอนแรกก็นึกว่าจะเป็นเรื่องทฤษฎีการเมือง แต่พออ่านแล้วก็เข้าใจเหตุผลที่อาจารย์แนะนำครับ คือหนังสือเล่มนี้จะปูพื้นฐานให้เราเข้าใจแนวคิดแบบชาวตะวันตก วิธีคิดและการเข้าใจโลกของพวกเขาต่างกับชาวตะวันออกอย่างเราทีเดียวครับ ผมไม่อยากบอกว่าในหนังสือเล่มนี้มันเขียนว่าอย่างไร อยากให้ไปหาอ่านกันเอาเองมากกว่าครับ โดยเฉพาะพวกที่เรียนสายสังคมศาสตร์ที่เอาแนวคิดตะวันตกมาตั้ง หากได้อ่านแล้วจะทำให้รู้วิธีคิดอย่างชาวตะวันตก และทำให้เราเห็นตัวเราชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะการมองปรัชญาแบบมหภาคครับ เล่มนี้ทำให้ผมเข้าใจอะไรๆขึ้นเยอะบนโลกใบนี้ หากได้อ่าน "ไอสไตน์ถามพระพุทธเจ้าตอบ" มาก่อนแล้ว เราทึ่งเลยว่าพระพุทธเจ้าอธิบายเรื่องที่ชาวตะวันตกใช้เวลาหลายศตวรรษในการให้เหตุผลได้โดยคำพูดเพียงไม่กี่คำ
ลองหาอ่านดูนะครับ ราคาไม่แพงเลย นับว่าราคาถูกมากหากเทียบกับนวนิยายที่ขายกันทั่วไป (ราคาไม่ถึงบัตรเติมเงิน 30 วันด้วยซ้ำ)


รายละเอียดโปรดคลิก http://www.tarad.com/kledthaishopping/product.detail.php?lang=th&id=145309#

05 October 2006

เช็ค บิล!


คราวใครก็คราวมันละครับ ไม่รู้ว่าคำว่ายุติธรรม เป็นกลาง เป็นธรรม ตอนนี้มันคืออะไร อยากไห้อ่านความเห็นของ etat de droit วันที่ 3 ตุลาคม 2549 นะครับ สำหรับผมเห็นว่าการที่จะเอาคนที่มีอคติเป็นการส่วนตัวมาทำการตรวจสอบเป็นความไม่เป็นธรรม และไม่เป็นกลางอย่างยิ่งเนื่องจากความเป็นอคตินี้เองจะเป็นเครื่องบังตา ทำให้ไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น เปรียบได้ดั่งการใส่แว่นสีที่นักกฎหมายรุ่นต่อรุ่นย้ำเป็นหนักหนาว่าจะทำให้พิจาณาข้อเท็จจริงผิดพลาด เมื่อขอเท็จจริงยังพลาด ข้อกฎหมายก็ต้องเพี้ยนเป็นธรรมดา ผมเห็นว่าการตรวจสอบทุจริตเป็นเรื่องดี ดีมากๆเลยด้วย แต่การที่จะให้คนดีถือดาบไปทะลวงฟันโดยไม่มีคู่มือการใช้ดาบ หรือกฎเหล็กให้อัศวินต้องเคารพ อัศวินเหล่านั้นวันหนึ่งคงจะเพลินในอำนาจที่มีอยู่ จากนั้นผู้อ่านก็คงรู้จากบทเรียนที่เพิ่งผ่านไปแล้วว่าอะไรจะเกิดอะไรต่อไป
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการติดดาบให้สตง.ในคราวนี้ เนื่องจากตาม รธน.40 จัดให้ คตง.เป็นคนที่มาควบคุม สตง. เป็นการคานและดุลอำนาจ ตรวจสอบกันเองในองค์กร เมื่อ คปค.ฉีก พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ สตง. หมวด1 ทิ้ง หมวดอื่นๆเลยเป็นการให้อำนาจแก่ สตง.เพียงถ่ายเดียว น่ากลัวนะครับหากว่าจะมีองค์กรใดที่มีอำนาจสูงสุดโดยปราศจากการตรวจสอบและถ่วงดุล ผมอยากจะให้มองกันที่ระบบมากกว่ามองกันที่คน จริงอยู่ที่เมื่อได้คนดีมาบริหารประเดี๋ยวระบบมันก็ดีตามมาเอง แต่สิ่งที่คนหลายๆคนลืมคิด หรือไม่เชื่อคือ มนุษย์มันเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเอาแน่เอานอนไม่ได้หรอก ระบบที่ดีจะทำให้คนดีอยู่ได้ คนชั่วทำชั่วไม่ได้ ตอนนี้เราให้ความสำคัญกับ"คน"ซะจนลืมให้ความสำคัญกับระบบ ตัวอย่างเช่น ตั้งนายกพระราชทานฯได้แล้ว กำลังตั้งครม.ใหม่ จนวันนี้ยังไม่ยกเลิกประกาศที่ห้ามบุคคลชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนเลยละครับ
อย่างไรก็ดีผมก็ดีใจที่ได้นายกฯใหม่ที่ดี มีคุณภาพ หากนายกฯจะลงเล่นการเมืองตามปรกติผมก็คงจะได้เสียงข้างมากไม่ยากนัก เราควรสงสัยว่าทำไมคนดีๆอย่าง นายกฯ หรือ บุคคลที่สังคมเคารพจึงไม่ยอมลงมาบริหาร ไม่ยอมลงสนามการเมือง มีแต่คนที่อยากจะกอบโกยประโยชน์ หรืออยากมีอำนาจที่ลงงสนามการเมือง เราน่าจะมีวิธดึงคนดีเข้าสู่ระบบการเมืองที่ดีกว่า การแต่งตั้ง สว.พระราชทานนะครับ ฤาประเทศไทยจะไม่เหมาะกับการปกครองแบบประชาธิปไตยพระราชทานจริงๆ

23 September 2006


อย่างที่บอกของแบบนี้มีแต่ที่ประเทศไทย.....
โล่งใจที่ไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ

22 September 2006

โจ๊กรัฐประหาร



ผมต้องขอพักการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเนื่องจากมีคำสั่งคณะปฏิวัติออกมาโดยให้เหตุผลเพื่อความสามัคคีของชาติบ้านเมืองนะครับ เอาว่าคราวนี้มีเรื่องขำขำมาฝาก เป็นเกร็ดการรัฐประหารครั้งนี้ครับ

1.รัฐประหารครั้งนี้คงเป็นการรัฐประหารที่น่ารักที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
รถถังออกมาวิ่งกันเต็มเมือง แรกๆคนก็ตกใจ ผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมงคนไทยหอบลูกจูงหลานไปเที่ยวชม ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับทหารและรถถัง บางแห่งถึงขั้นให้เด็กๆขั้นเป็นเล่นเหมือนวันเด็กอีกด้วย อย่างในภาพแม้แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็พลอยเป็นไทยมุงกับเขาด้วย "นี้รัฐประหารจริงๆหรือครับเพ่"
2.มีเรื่องเล่ามาจากเจ้าหน้าที่ อสมท. วันที่19ตอนกลางคืน ทหารในรถลำเลียงพลวิ่งมาจอดหน้าประตูอสมท.ที่ถ.พระราม9 ทหารหลายนายต่างรีบกระโดดลงจากรถบุกเข้ายึดตัวอาคาร "ชั้นหนี่งเคลียร์ สองเครียร์ สามเครียร์" ผ่านไปไม่กี่นาทีผลทหารสองสามนายก็ลากตัวรปภมาให้นาย นายทหารสั่ง "เรายึดพื้นที่ไว้หมดแล้ว ขอให้คุณหยุกการออกอากาศวิทยุเดี๋ยวนี้" รปภตอบ "ผมเป็นแค่ยาม" ทหารหนุ่มสวนกลับทันควัน "นี้คือคำสั่ง" รปภอำอึ่งกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วกล่าวว่า "แต่........." "แต่...อะไร จะปฎิบัติดีๆหรือต้องให้ใช้กำลัง"ทหารตวาดอย่างรุนแรง รปภทำหน้าเซ้งแล้วเอ่ยว่า "คือผมเป็นยามทิพยประกันภัยครับท่าน ผมว่าสิ่งที่ท่านต้องการยึดมันอยู่ถัดไปจากตึกนี้" ทหาร ?????


อันนี้ไม่รู้จริงหรือเปล่าแต่ว่าก็มีมูลเหมือนกันเพราะหาเข้าอสมท.ทางพระราม9 ก็ต้องผ่านอาคารจอดรถไปก่อนถึงจะเจอตึกอำนวยการ หากไม่สังเกตก็คงไปผิดตึกนะครับ ฮิฮิ....

21 September 2006

ความเคยชินทางการเมือง


Soldiers Never Die! (From Thai Politic)

ประชาธิปไตย ประชารัฐ กับ นิติรัฐประหาร

ก่อนอื่นขอไวอาลัยให้กับรัฐธรรมนูญไทย ปี40 รธน.ฉบับที่เมื่อ 7 ปีก่อนมีคนออกมาสรรเสริญว่าเป็นกฎหมายสูงสุดที่ดีที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้มากที่สุดอีกด้วย บัดนี้ถึงวาระสุดท้ายของความรุ่งโรจน์ในรัฐธรรมนูญนิยมไปแล้ว ทางหนึ่งผมเสียดายสิ่งที่ร่ำเรียนมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ยังเอามาใช้ได้ไม่ถึง 4 เดือน รัฐธรรมนูญก็ถูกฉีกซะแล้ว อีกทางก็ดีใจที่ปัญหาบ้านเมืองที่เรื้อรังมาเกินครึ่งปีกำลังจะหมดลง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มี concept หลักๆคือ รับรองสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย สร้างเสถียรภาพให้กับการเมือง ทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง วางระบบสิทธิพื้นฐานที่คนไทยควรได้รับจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การรักษาพยาบาล การแสดงออกซี่งความคิดเห็นและเหนือสิ่งอื่นใดคือให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งประการหลังนี้ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำได้ดีมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีการชุมนุมประท้วงขับไล่นายกฯที่ผ่านมา กรณีอย่างนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากรัฐธรรมนูญไม่ได้วางหลักเช่นนั้นไว้ ผมก็ไม่แปลกใจเลยที่จะมีพรรคการเมืองแบบไทยรักไทยขึ้น การเมืองที่ผูกกับกลุ่มทุนนิยมใหม่ที่มีฐานจากรากหญ้า ก็รัฐธรรมนูญมันเขียนไว้ชัดในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หากพรรคอื่นๆจะสนใจกับสิ่งที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้บ้างแล้วนำมันมาเป็นนโยบายของพรรค ไม่เล่นการเมืองแบบที่เคยเป็นมาในอดีต ผลก็จะออกมาในทำนองเดียวกับที่พรรคไทยรักไทยทำ ผมขอพักไม่กล่าวถึงในเรื่องนี้ก็แล้วกันนะครับ สิ่งที่อยากจะเขียนในวันนี้คือเรื่องวุฒิภาวะทางการเมืองของคนไทย
ประชาธิปไตยคืออะไร เป็นคำถามที่สำคัญที่ทุกๆคนควรจะถามและเข้าใจก่อนจะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง สำหรับผมตอบง่ายๆก็คือการที่การปกครองจากคนส่วนใหญ่ในสังคม แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือคนส่วนใหญ่ในสังคม ผมก็เห็นว่าเราจะรู้ได้โดยอาศัยการเลือกตั้งจากประชาชน ผลคือเราได้คนที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้ามาทำการบริหารบ้านเมือง อันนี้เป็นแนวคิดง่ายๆสำหรับคำว่าประชาธิปไตย ผมจะถามต่อไปว่าแล้ว คำว่าประชาธิปไตยกับคำว่า รัฐธรรมนูญนิยมมันเหมือนกันหรือไม่ สำหรับผมมันขึ้นอยู่กับว่ารัฐธรรมนูญนั้นมันมีความเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน กล่าวคือเป็นกฎหมายสูงสุดสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทศหรือเปล่า ฉบับล่าสุดปี40 นี้ผมเห็นว่าเป็นเพราะ คนส่วนใหญ๋ของประเทศเป็นคนยากจน เกษตรกร พวกเขาต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ใช่ให้สวัสดิการแก่เฉพาะคนระดับกลางและสูงเท่านั้น แล้วคำถามว่าประชาธิปไตยจะมาได้จากผู้มีอำนาจได้หรือไม่ จริงๆแล้วสำหรับประเทศไทยก็เป็นเช่นนั้นโดยเริ่มจากคณะราษฎร์ปฏิวัติ ร.7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ ตอนเริ่มต้นก็ไม่มีประชาราษฎร์เข้าไปมีส่วนร่วมซักเท่าไร มันไม่เหมือนกับประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสที่คนทั้งประเทศลุกฮือกันขึ้นมาต่อต้านกษัตริย์ กลับกันคนที่อยากได้ประชาธิปไตยคือคนที่มีกำลังทหารอยู่ในมือ ดังนั้นประชาธิปไตยที่เราได้มาเลยเป็นประชาธิปไตยของทหาร แบบทหาร และเพื่อทหาร ลักษณะสำคัญก็คือหากมีปัญหาทางการเมืองที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกก็ทำการรัฐประหารเพื่อยุติปัญหา ต่อมาเมื่อนักการเมืองมาจากพลเรือนทางออกก็มีมากขึ้นมาเป็นการยุบสภา สิ่งที่เกิดขึ้นในคราวนี้ผมไม่รู้ว่ามันเป็นการถอยหลังลงคลองหรือว่าเป็นการที่อำนาจคืนสู่ทหารซึ่งเป็นเจ้าของแต่เดิมกันแน่
วงจรอุบาทว์(อย่างที่หลายๆคนเรียกกัน แต่ผมไม่คิดอย่างนั้นเพราะมันคือการเมืองแบบทหาร) ได้กลับคืนมาสู่ระบบการเมืองอีกครั้ง กลับมาเพื่อเป็นทางออกให้กับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่อแร่งบิดไปบิดมา หากแม้ว่าจะเป็นผลดีต่อการเมืองไทยและเป็นทางออกให้กับวิกฤติศรัทธาของนักการเมืองและระบบการเมืองแบบทุนนิยม ผมก็ยังคิดว่ามันเร็วเกินไปที่จะใช้วิธีนี้ เพราะ
1. ในเมื่อเรามีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน และเราเรียกการปกครองของเราว่าประชาธิปไตย การแก้ไขปัญหาก็ควรจะแก้ไปที่รัฐธรรมนูญ แก้ไปที่กฎหมายไม่ใช่ใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญมาฉีกรัฐธรรมนูญแล้วเขียนใหม่
2. การใช้กำลังเข้าแก้ปัญหาบ้านเมืองเป็นเรื่องที่ยังไม่ถึงเวลา เพราะความขัดแย้งยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม ยังอยู่ในขั้นขู่กันไปกันมาอยู่เราก็ลงดาบเสียแล้ว หากรอให้เลือกตั้งเสร็จ หรือให้กลุ่มพันธมิตรฯประท้วงจนเกิดความรุนแรงก่อนแล้วค่อยรัฐประหาร ผมว่าจะมีความชอบธรรมมากกว่าทั้งในสายตาของต่างประเทศและในสายตาของนักกฎหมาย
3. สังคมที่เจริญแล้วเขามักยุติปัญหาด้วยการใช้องค์กรศาล ด้วยการเจรจา ไม่ใช่ด้วยการใช้กำลัง หากเรามีกติกาแล้วไม่เคารพ ต่างคนก็ต่างจะทำสิ่งที่ตนต้องการสุดท้ายอำนาจเถื่อนก็จะกลับมา
ผมก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่ทหารทำจะเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว หากมีเจตนาแอบแฝงประเทศชาติคงจะเสียหายอย่างไม่ได้สัดสวน สิ่งที่น่ากลัวคือในขณะนี้เราไม่มีรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิของประชาชน ทหารจะทำอะไรก็ได้ ตอนนี้ทหารจะทำอะไรก็ไม่มีใครตรวจสอบ หากมีการยึดทรัพย์แล้วเงินไม่ได้เข้าคลังละใครจะเป็นผู้บังคับให้มันถูกต้อง แล้วถ้ารัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้รับรองสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมละ แล้วหากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือคนในองค์กรอิสระเป็นพวกเดียวกันหมดละ แล้วหากเกิดการกินรวบทั้งระบบเหมือนรัฐบาลที่ผ่านมาละ ?? ผมก็ได้แต่ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิคุ้มครองประเทศไทยให้สงบสุขอย่างให้เกิดความรุนแรง และหวังลึกๆว่า รัฐธรรมนูญใหม่จะยังคุ้มครองสิทธิไม่น้อยกว่าที่ผ่านมา ไม่เช่นนั้นสิ่งที่ผมคิดและร่ำเรียนมาคงเป็นศูนย์สำหรับสังคมไทย

06 September 2006

พวกโซฟิสต์ต่างจากโสกราตีสอย่างไร?

โสกราตีสมีชีวิตอยู่ในยุคเดียวกับพวกโซฟิสต์ โซฟิสต์คือคนที่ขายความรู้ ออกแสวงหาความรู้ไปในที่ต่างๆ หากพูดในภาษาปัจจุบันก็คือเป็นครูหรืออาจารย์นั้นเอง โซฟิสต์จะหากินกับความรู้เล็กๆน้อยๆที่ตนมีอยู่และมักคิดว่าตนเองนั้นเป็นผู้ปราดเปรื่องรอบรู้ ในสมัยกรีกนั้นประชาธิปไตยเป็นตัวที่กระตุ้นให้ผู้คนตื่นตัวในการแสวงหาความรู้ให้แก่ตน ในขณะที่ความรู้ของพวกโซฟิสต์เกิดจากการใช้สมองคิดและสืบทอดกันมา ในหมู่นักปราชญ์ชาวกรีกก็มีแกะดำอยู่นั้นก็คือ โสกราตีส
เขาจะทำเป็นไม่รู้อะไรเลย และถามผู้ที่สนทนาด้วยให้คิดเอง และไตร่ตรองหาคำตอบเอง โสกราตีสจะบังคับให้ต้องใช้สามัญสำนึกเมื่อคุยกับเขาเพราะนั้นคือการคิดได้เองหรือณานประเภทหนึ่ง โสกราตีสเปรียบตนเองเป็นหมอตำแย คือหมอตำแยไม่ได้เป็นคนคลอดแต่จะเป็นผู้ที่ช่วยให้การคลอดลุล่วงไปได้โดยสะดวก ณานทัศนะที่ถูกต้องก็คือความเข้าใจที่แท้จากภายใน ไม่ใช่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่น สิ่งที่โสกราตีสต่างจากพวกโซฟิสต์อย่างมากก็คือ เขาไม่เคยคิดว่าตนเองเป็นพวกโซฟิสต์ ไม่เคยคิดว่าตนเองเป็นผู้ปราดเปรื่องหรือสอนหนังสือเพื่อแลกเงินแลกทอง ไม่เป็นครูและผู้ดีที่ปลื้มอกปลื้มใจกับความรู้ที่มีเพียงน้อยนิดของตัวหรือพวกที่ชอบโออวดว่ารู้เรื่องนี้เรื่องนั้นดีทั้งๆที่จริงๆไม่รู้อะไรเลย โสกราตีสคือปราชญผู้รู้เพียงสี่งเดียวว่า "เขาไม่รู้อะไรเลย" ตรงนี้ละครับที่ผมเห็นว่าโสกราตีสกับคำสอนของพระพุทธเจ้าตรงกัน ชาวพุทธเรามีกาลามสูตรที่เป็นหลักไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ สิ่งที่จะเชื่อได้ก็ต้องมาจากการไตร่ตรองจากตน นอกจากนั้นสิ่งที่คิดว่ารู้จริงๆคือไม่รู้ และการที่คิดได้ว่าตนเองไม่รู้ก็คือการรู้แจ้งอย่างหนึ่ง เป็นแก้วใบเปล่าที่สามารถใส่อะไรลงไปก็ได้ ไม่ใช่ แก้วที่มีน้ำเต็มแก้ว มาถึงจุดนี้ผมคิดว่าปรัชญาในยุคโบราณนั้นมันมีความร่วมสมัยอยู่ไม่ว่าจะเป็นของตะวันตกหรือตะวันออก จุดร่วมนั้นก็ดือความจริงในฐานะที่เป็นอกาลิโกและความจริงชั่วขณะ

15 August 2006

กกต.กับความเป็นกลางทางการเมือง

ช่วงนี้ประเด็นเรื่องการสรรหากกต.ดูจะเป็นที่จับตามองของหลายฝ่าย ในตอนแรกผมเห็นรายชื่อว่าที่กกต.ทั้ง 10 คนที่ได้มาจากที่ประชุมศาลฏีกาก็โล่งใจ 10คนที่ได้ก็น่าจะเป็นกลาง และเป็นมือกฎหมายจริงๆ หลายๆคนในนั้นก็เป็นท่านอาจารย์ที่ได้สั่งสอนวิชากฎหมายให้กับผมเอง ในช่วงแรกทีมข่าวการเมืองหลายๆสำนักก็ออกมายินดีกับทั้ง10ท่าน ทั้งกล่าวว่า 10 คนที่ได้มานี้แหละสุดยอดแล้ว ต่อมาหาเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือเมื่อมีข่าวว่าจะมีการบล็อกโวตในชั้นวุฒิสภา ก็เริ่มขุดคุ้ยประวัติมาแฉ ที่ยิ่งกว่านั้นคือกลุ่มพันธมิตรฯที่ออกมากดดันสภาสว. "ห้ามไม่ให้ คุณนาม กับ คุณแก้วสรร หลุดโผ" ตรงนี้ละครับที่เป็นฉนวนให้ผมคิดเรื่องความเป็นกลางของกกต.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136
ผมคิดว่าเราน่าจะได้ว่าที่กกต.ที่ไม่มีเอี่ยวกับรัฐบาลไทยรักไทยแล้วละ แต่จะเป็นกกต.ที่มีเอี่ยวกับอีกฝ่ายหรือไม่ อันนี้ไม่แน่ใจ โดยหลักแล้วคนที่เคยเป็นความกันมาก่อนหรือแสดงจุดยืนว่าอยู่ตรงข้ามกันมาก่อนไม่ควรที่จะมาเป็นกรรมการชี้ขาดปัญหาใดๆ คือหลักผลประโยชน์ขัดกัน conflict of interest ทั่วไปละครับ
มาถึงตรงนี้ผมขอให้สังเกตว่า คุณนาม เคยเป็นคนชงเรื่องยุบพรรคไทยรักไทย อีกคนคือ คุณแก้วสรร ขึ้นเวทีไหนก็แสดงจุดยืนตนเองอย่างชัดเจนว่าไม่เอารัฐบาล เยี่ยงนี้แล้วจะถือว่าเป็นกลางทางการเมืองใด้อย่างไร?? ผมว่าผู้พิพากษาคงจะรู้ในหลักข้อนี้ดีอยู่ แล้วทำไมในรายชื่อ 10 ท่านถึงมีกรณีเช่นนี้ได้ น่าแปลกนะครับ

02 August 2006

สิทธิการประท้วง-สิทธิการละเมิดผู้อื่นโดยชอบ

ภาพ:ชัย ราชวัตร, นสพ.ไทยรัฐวันที่ 2 สิงหาคม 2549

ประเด็นที่จะนำมาเขียนในวันนี้คือเรื่องการสิทธิในรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อนายกฯพระราชทาน
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า รัฐธรรมนูญคืออะไรและมีไว้ทำไม รัฐธรรมนูญคือกติกาในการบริหารปกครองประเทศ เป็นตัวโครงสร้างที่บอกว่ารัฐคืออะไรและใช้อำนาจได้อย่างไร ส่วนรัฐธรรมนูญมีไว้ทำไม หากตอบให้ง่ายที่สุดก็เห็นจะตอบได้ว่า "มีเพื่อจำกัดอำนาจรัฐ ไม่ให้ใช้อำนาจเกินขอบเขต" หลักที่จะนำมาปรับให้เข้ากับการปฏิบัติคือ หลักนิติรัฐ กล่าวคือการกระทำใดๆ ของรัฐต้องชอบด้วยกฎหมาย และกฎหมายสูงสุดในที่นี้หมายถึงรัฐธรรมนูญนั้นเอง
สิทธิในการประท้วงนี้ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ มาตรา 44
"บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในสภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก"
หากพิจารณาจากบทบัญญัติจะเห็นได้ว่า สิทธิในมาตรานี้แม้ได้รับการรับรอง แต่ก็ให้สิทธิอย่างมีขอบเขต กล่าวคือ อาจถูกจำกัดได้ในกรณีเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย(public order) และคุ้มครองคนอื่นที่จะใช้ที่สาธารณะ
ครั้งหนึ่งผมไปสัมมนากฎหมายกับปัญหาสังคม กับนิสิตปี 1 วิทยากรให้ความเห็นว่า แค่คิดว่าจะร่างกฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมก็ผิดแล้ว เพราะสิทธิในตรงนี้มันไม่สามารถจำกัดได้ ต้องให้มันมีเสรีภาพในการคิดการทำ ในการแสดงออกถึงการเรียกร้อง ตรงนี้ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะตามที่ได้เรียนแล้วคือ สิทธิตรงนี้มันมีข้อจำกัดว่าต้องอยู่ในความสงบ (public order) รัฐยังคงต้องมีอำนาจในการรักษาความสงบเพื่อคุ้มครองผู้อยู่นอกกลุ่มชุมนุม
ยกตัวอย่างการขัดแย้งของสิทธิเช่น เมื่อฝ่ายหนึ่งอ้างสิทธิในการชุมนุมมาปิดถนนหน้าห้างฯ สยาม พารากอน ทำให้บุคคลอื่นๆซึ่งอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยไม่สามารถเดินทางผ่านบริเวณนั้นได้ ดังนี้สิทธิในการเดินทางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 36 ของคนกลุ่มหลังก็ถูกละเมิด แต่ด้วยความที่คนมากกว่าเข้ามาปิดถนนคนกลุ่มแรกก็ได้ประโยชน์ไป ที่เหลือก็เสียประโยชน์ คำถามคือเราจะบริหารสิทธิในเรื่องนี้อย่างไร เพราะความศักดิ์สิทธิ์ก็เท่ากัน อยู่ในหมวดเดียวกัน
ขอให้เปรียบเทียบกับการประท้วงตอนอยู่ที่สนามหลวง เมื่อมีการประท้วงจะมีการนัดกันล่วงหน้ามีการประสานงานกับตำรวจเป็นอย่างดี การกระทบสิทธิของคนอื่นก็มีไม่มากเพราะเป็นสถานที่เพื่อให้ชุมนุมจริงๆ หรือจะเป็นที่ลานพระบรมรูปฯก็ไม่กระทบคนอื่นมากนักเพราะทางรัฐก็จัดให้มีการชุมนุมเหล่ากาชาดทุกๆปี แต่การที่เคลื่อนตัวมากลางศูนย์ธุรกิจก็กระทบกับคนอื่นมาก การจราจรเป็นอัมพาตทั้งเมือง เยี่ยงนี้แล้วเป็นการใช้สิทธิในรัฐธรรมนูญเกินส่วนหรือไม่?
ความคิดที่ว่าสิทธิในการประท้วงเป็นสิทธิที่สำคัญและไม่สามารถมากำหนดกฎเกณฑ์ได้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง การจำกัดก็ควรจะมีได้แต่ให้อยู่ในขอบที่จะไม่สร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่น ไม่ละเมิดคนอื่นก็เท่านั้น เป็นต้นว่า การจัดการชุมนุมก็ให้เป็นที่สาธารณะจริงๆ และมีไว้เพื่อการชุมนุม หรือจะวัดจากปัญหาที่กระทบคนหมู่มากหากมีการชุมนุมก็ได้ เช่นการชุมนุมที่สนามหลวง เทียบกับที่สวนลุม หรือการชชุมนุมที่จตุจักรเทียบกับที่สยามพารากอน เหล่านี้ขอให้ท่านเทียบดูเองเถิด ส่วนผมคิดว่าหากสังคมเราสนใจเรื่องพหุนิยมกันบ้าง เราก็จะเคารพสิทธิที่มีระหว่างกันมากขึ้น คนส่วนใหญ่จะอยู่ร่วมกับคนส่วนน้อยอย่างสงบและสิทธิตามรัฐธรรมนูญก็เป็นของทุกคน ไม่ใช่คนที่มีเสียงดังกว่า.........

27 July 2006

เหตุผลที่กกต.สมควรลาออก V. เหตุผลที่เลขาฯครม.ลาออก


จากที่ได้ติดค้างกันมาในประเด็นกกต.ถูกจำคุกแล้วอะไรจะเกิดขึ้น? ประการแรกต้องมาพิจารณากันว่าพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งที่ได้ประกาศออกมาแล้วนั้นจะต้องถูกเลื่อนออกไปหรือไม่ ในกรณีนี้ท่าน อ. ปื๊ด เห็นว่าการสรรหากกต.โดยศาลฏีกาหรือโดยคณะกรรมการสรรหา หากกระทำตามรัฐธรรมนูญที่มีอยู่(โดยไม่มีการสมยอมหรือฮั๊วกัน) ก็น่าจะกินเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน นอกจากนั้นเมื่อได้กกต.มาแล้วก็ต้องให้ระยะเวลาในการเรียนรู้งานพร้อมกับการประกาศและตรวจสอบคุณสมบัติสส.เพื่อเลือกตั้งในวันทึ่ 15 ตค.อีก เช่นนี้แล้วเห็นทีจะยากที่จะให้มีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว หากเลือกตั้งได้จริงผมก็เห็นว่ามันก็คงจะมีข้ออ้างว่าไม่เป็นรรมได้อีก ซึ่งผู้ที่ชนะการเลือกตั้งในคราวหน้าก็ต้องรับกรรมไป
จะว่าไปก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกอยู่เมื่อศาลมีหมายจำคุกกกต.ไปแล้ว แต่วันรุ่งขึ้นเจ้าหน้าที่สำนักงานกกต.ก็เอาใบลาออกมาให้กกต. ลงนาม ประการนี้น่าจะเป็นการหวังผลทางการเมืองมากกว่าการที่จะให้มีผลทางกฎหมาย เนื่องจากสถานภาพของกกต.ขาดไปตั้งแต่ถุกจำคุกตามหมายศาลแล้ว แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดก็ขาดได้ตาม รัฐธรรมนูญมาตรา106 และในกรณีนี้จะไปอ้างคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญว่าคดียังไม่ถึงที่สุดก็ไม่ได้(เช่นคดีทุจริตของเนวิน ชิดชอบ) เพราะศาลในบ้านเราเป็นระบบศาลคู่ขนาน คำพิพากษาระหว่างศาลมีค่าเทียบเท่ากัน จะเพิกถอนกันได้ก็แต่อาศัยกฎหมายที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้เป็นคดีอาญา ศาลยุติธรรมก็สร้างหลักเองได้ ไม่ต้องอิงศาลรัฐธรรมนูญ

ทีนี้มาดูเหตุผลดีๆ ที่กกต.สมควรลาออก โดยคำสอนของอ.ปื๊ด โดยท่านได้กล่าวว่า "Justice is done and has to be seen to be done" หมายความว่า การประสาทความยุติธรรม ต้องทำให้ผู้อื่นเห็นด้วยว่าเป็นการประสาทความยุติธรรม ไม่ใช่แค่ทำตามกฎหมายบัญญัติ แต่ต้องเป็นการสร้างความชอบธรรมให้ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าเป็นความชอบธรรม ครั้นจะแยกความยุติธรรมมาอรรถาธิบาย ก็เห็นว่าจะแยกได้ออกมาเป็นสองส่วนคือ ความชอบด้วยกฎหมายบ้านเมือง(legality) กับความชอบธรรม(legistimacy) ความชอบด้วยกฎหมายนี้อาศัยพื้นฐานความชอบจากตัวกฎหมายซึ่งก็ต้องพิจารณากันต่อไปว่ากฎหมายนั้นดีหรือไม่ดี ออกโดยได้รับการยอมรับจากปวงชนหรือไม่ ส่วนความชอบธรรมนั้นอาศัยความรู้สึกที่ได้รับความเป็นธรรมและอาศัยการยอมรับ(perception)ของหมู่ชน หากจะถามว่าสองอย่างนี้อย่างใดมีความสำคัญกว่ากัน ผมก็คงจะจนใจเพราะสำคัญด้วยกันทั้งคู่ ความชอบด้วยกฎหมายก็ต้องได้รับการยอมรับว่ากฎหมายนั้นดีมีผลบังคับได้ ส่วนความชอบธรรมนั้นก็ดูจะเป็นการเลื่อนลอยเกินไปหากไม่มีกฎหมายมาจำกัดความเพราะความชอบธรรม หรือคุณธรรมทางกฎหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีค่าไม่เท่ากันทำให้การให้ความหมายของคุณธรรมแตกต่างกันไป
สิ่งที่อ.ปื๊ดย้ำให้นักกฎหมายพึงสังวรไว้ก็คือ เราเป็นสายอาชีพที่อาศัยความเชื่อถือของประชาชน เมื่อใดก็ตามเราขาดความเชื่อถือในตำแหน่งหน้าที่ หรือพูดแล้วคนไม่เชื่อถือ แม้สิ่งที่เราพูดจะเป็นความจริงเป็นสิ่งที่ถูกต้องคนก็ไม่เชื่อ ดังนี้แล้วก็ป่วยการที่จะทำหน้าที่ต่อไป โดยเฉพาะในทางการเมืองที่ perception is reality ผมเทียบเอาได้ว่าเมื่อกล่าวดังนี้ก็หมายความว่า หากคนส่วนใหญ่มี perception อย่างแว่นสี แม้เราที่ไม่ใส่แวนเห็นถูกเห็นชอบอย่างไร คนส่วนใหญ่ที่สวมแว่นสีก็ย่อมไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด
ดังนั้นเมื่อหันกลับมามองกกต. เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่เป็นกลาง แม้ตนจะเป็นกลาง ก็ไม่ควรทำหน้าที่ต่อไปให้เกิดความแคลงใจ ผมจึงกระจ่างในเหตุผลดีๆที่กกต.ควรลาออกก่อนหน้านี้มาตั้งนานแล้ว

26 July 2006

สังเวยกกต.เพื่อความยุติธรรมทางการเมือง



สังเวยกกต. เพื่อความยุติธรรมทางการเมือง
ผมไม่แน่ใจว่าจะเรียกการกระทำของศาลยุติธรรมในกรณีนี้ว่าอย่างไร แม้ผมแน่ใจว่าศาลมีเจตนาที่ดีในการเข้ามาแก้ไขวิกฤตการทางการเมืองแต่สิ่งที่ผมมักพูดและคิดอยู่เสมอคือ "อย่ามั่ว" กระนั้นผมไม่แน่ใจว่าศาลจะมั่วหรือเปล่า แต่หากดูขอบอำนาจแล้วก็คงไม่มั่ว รูปคดีผมไม่ขอพูดถึงเพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ของศาลและศาลก็วินิจฉัยได้ดี แต่ที่เห็นว่ามันผิดปรกติคือการลงโทษของศาลและการที่ศาลไม่ให้ประกันตัว

ในการอนุญาตให้ประกันตัวนั้นหากพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้วก็เห็นว่าเป็นดุลยพินิจของศาลโดยแท้ แต่เกณฑ์ที่ศาลถือปฎิบัติ ในวิ.อาญาในกรณีนี้ก็คือ มาตรา108 - 109
มาตรา 108 ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้อพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ
(1)ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2)พยานหลักฐานที่ปรากฎแล้วมีเพียงใด
(3)พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีเป็นอย่างไร
(4)เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5)ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนี้หรือไม่
(6)ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7)ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้
มาตรา 108/1 วรรคแรก
การสั่งไม่ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(1)ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
(2)ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
(3)ผู้ต้องหารหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(4)ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(5)การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

หากดูๆไปแล้วก็สงสารกกต.อยู่เหมือนกันที่โดนเหตุไม่ให้ประกันว่า "เกรงว่าจะไปจัดการเลือกตั้ง" พิจารณาไตร่ตรองกันเองเถิด ว่าเป้าหมายและวิธีการของศาล มันชอบธรรมหรือเปล่า สำหรับผมก็ขอคารวะในความอึดของกกต.ครับ สำหรับเรื่องกกต.ขอเก็บเอาไว้วิเคราห์ที่หลังนะครับ ให้มีข้อมูลมากกว่านี้จะมาวิจารณ์ให้อ่านกัน

หมายเหตุ เมื่อวานได้เข้าเรียนวิชา รัฐธรรมนูญ (ป.โท) โดยมีท่านปรมาจารย์ปื๊ดเป็นผู้บรรยาย ท่านได้ให้ข้อคิดมากมายซึ่งผมขอตัวเก็บเอาไปคิดให้ตกผลึก แล้วจะมาเปิดประเด็นให้ทุกคนได้ทราบครับ

25 July 2006


ลองสังเกตดูนะว่าแมวมันมุดออกมาจากภาพถ่ายห้องครัว
หรือว่าแมวมันม้วนอยู่ในผ้ากันแน่ ???

24 July 2006

กกต.แพะหรือแกะดำ


กกต.แพะหรือแกะดำ
http://www.thairath.co.th/showcartoon.php?cat=129
เมื่อเช้าอ่านข่าวนสพ. การ์ตูนล้อเลียนเป็นมุขหาก กกต.ถามนักข่าวว่าตนเองผิดอะไร
ผมก็สงสัยอยู่ว่ากกต.ทำผิดอะไร ทำไมถึงต้องออก
หนึ่ง -----ใครจำได้หรือไม่ ตอนที่ประท้วงไล่นายกฯ สื่อก็โจมตีแต่นายกฯ ประโคมข่าวม็อบกันทั้งวันทั้งคืน กกต.ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไร
สอง-----พอนายกฯยุบสภา สื่อก็หันไปเล่นข่าวพรรคฝ่ายค้านที่ไม่ลงสมัคร
สาม -----เลือกตั้งเสร็จก็หันมาเล่นงานกกต.อีก
สี่ -------ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมรวมหัวกันฟันธงคดีเลือกตั้ง ผมก็สงสัยว่าอาการอย่างนี้มันชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะตามกฎหมายมันมีกรณีเดียวเท่านั้นที่ศาลจะสามารถมารวมตัวกันได้ก็คือคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจระหว่างศาล มาปรึกษาหาทางออกเรื่องเขตอำนาจศาล
สี่ ที่แย่ที่สุดคือกรณีที่ศาล ผ่านตัวแทน เช่น สำนักงานศาลฯ ผู้พิพากษา ออกมาเรียกร้องให้กกต.ลาออก โดยอ้างว่าทำตามพระราชกระแส สิ่งที่พระองค์ท่านย้ำในวันที่พระราชทานคำแนะนำคือ "อย่ามั่ว" เพราะปัญหามันเกิดจากการมั่ว แล้วศาลซึ่งเป็นองค์กรชี้ขาด ไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย แต่กลับมาใช้อำนาจตุลาการนอกศาล กดดันกกต. ผมว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูก จะเป็น Judicial Activism ก็ไม่ใช่ ผมเห็นว่าผู้พิพากษาไม่ควรแสดงความเห็นที่เป็นการชี้ขาดใดๆต่อกรณีปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้เลย ด้วยเหตุว่าหากกกต.ตกเป็นจำเลยที่ตนต้องตัดสิน ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมก็คือกกต. เพราะศาลได้ฟันธงว่าผิด "ตั้งแต่ยังไม่พิจารณาความ" ขัดกับหลักในรัฐธรรมนูญที่รับรองใน มาตรา ๓๓ "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" แล้วเมื่อศาลและตัวแทนศาลออกมาแสดงจุดยื่นพร้อมกับกดดันกกต.ให้ลาออกเยื่ยงนี่จะยุติธรรมกับกกต.หรือ?
ห้า--เมื่อศาลตัดสินตามธงว่า เลือกตั้งไม่ชอบ ตุลาการมานิตย์ให้ความเห็นว่า ที่กกต.จัดการเลือกตั้งไม่ผิดกฎหมาย แต่ตัดสินให้เลือกตั้งใหม่ แล้วหลักเรื่องนิติรัฐ หลักเรื่อง constitutionalism หลัก Vettrauensschutzprinzip (หลักคุมครองความสุจริตของการออกคำสั่งทางปกครอง, German) เราจะเอาหลักอะไรมาเป็นเกณฑ์ที่บอกว่า กกต.กระทำผิดละครับ เท่าที่ทราบ หลายๆ ประเทศในโลกก็หันคูหาออก อินเดีย ลาว ที่เพิ่งเลือกตั้งไป ดูจากทีวีก็หันคูหาออก หากจะเอาการจัดคูหามาเป็นตัววัดว่าการเลือกตั้งไม่ชอบเพราะไม่สุจริตผมว่าก็คงจะเกินไป แล้วทำไมไม่มีการเพิกถอนพวก อบต.ที่เลือกๆไปก่อนหน้าละครับ
หก-----หาก กกต. ผิดจริงทำไมไม่พิจารณาไปตามกระบวนการศาลละครับ หากเห็นว่าเป็นคดีพิเศษก็จัดการให้มันรวดเร็วก็ได้ ไม่เห็นจะต้องมารวมหัวกันเป็น Special Tribunal เลย ในหลวงท่านให้ไปหาทางออกร่วมกัน แต่ไม่ได้ให้ใช้อำนาจร่วมกัน อีกทั้งการตั้ง
เจ็ด-----ครั้นเป็นอย่างนี้แล้วก็คงจะได้แต่สงสารกกต.ที่เป็นแพะของไฟการเมือง ใครจะมาล้างมลทินก็ไม่มี กว่าจะผ่านเข้ามาได้ก็ยากลำบาก ต่อไปใครจะกล้ามาเป็น กกต.อาสารับใช้ชาติละครับ
แปด--- การสรรหา กกต.ที่ขาดไป 2 ท่าน ผมเห็นว่ากรณีนี้ที่ประชุมศาลฎีกาเองก็ไม่มีอำนาจ เพราะติดเงื่อนเวลาในรัฐธรรมนูญ ตาม มาตรา 138
มาตรา ๑๓๘ การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนห้าคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
(๓) การเสนอชื่อตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม (๑)
(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบห้าคน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
เก้า---- ศาลเป็นองค์กรที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในทางการเมืองจริงหรือ? อาจจะจริงตามกฎหมายเอกชน แต่หากว่ากันตามหลักกฎหมายมหาชนแล้ว เรื่องการเมือง ศาลยุติธรรมไม่ควรเข้ามาเกี่ยว เพราะ ศาลไม่มีระบบที่ให้ผู้อื่นมาตรวจสอบหนึ่ง ศาลเป็นระบบปิดไม่มีคนนอกเข้ามากลางระบบหนึ่ง ผู้พิพากษาอาจมีประโยชน์แอบแฝงหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้เราจึงต้องให้คดีมีศาลการเมืองเป็นการเฉพาะ นั้นก็คือศาลรัฐธรรมนูญ

เก้าประการนี้ขอเอามาเป็นข้อคิดในการพิจารณาว่า กกต.เป็นแพะหรือแกะดำ

23 July 2006

คอรัปชันในสายตาของข้าพเจ้า

คอรัปชันในสายตาของข้าพเจ้า (เขียนเมื่อปี 2545- ได้รับรางวัลจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสแห่งประเทศไทย)

ปัญหาสังคมของประเทศไทยนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปล้นจี้ ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย อาชญากรรมที่พบเห็นทุกวันนี้เกิดขึ้นก็เพราะว่าเรายังเป็นมนุษย์ที่มีความโลภ โกรธ หลง บางคนที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการทั้งภายในและภายนอกได้ก็มักจะก่อเหตุเดือดร้อนขึ้นมา แต่ปัญหาที่ผมเห็นว่าน่าเป็นห่วงที่สุดในตอนนี้คือปัญหาการคอรัปชันที่ฝังลึกเข้าทำลายจิตสำนึกของคนไทยมานานกว่าศตวรรษ การคอรัปชันหรือการฉ้อราษฏบังหลวงมีการพัฒนารูปแบบไปตามยุคสมัย ทำกันจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บางคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ
คอรัปชันนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมมานับตั่งแต่โบราณกาล เมื่อครั่งที่ประเทศเรายังใช้ระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว แต่ในส่วนภูมิภาคแล้วกษัตริย์จะแต่งตั่งเจ้าเมืองไปปกครอง เจ้านายเหล่านี้ไม่ได้เงินเดือนจากพระคลัง แต่ก็ได้รับประโยชน์จากการกินเมือง นานเข้าก็เห็นว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั่งแต่อดีตที่ข้าราชสามารถหาผลประโชนย์จากตำแหน่งหน้าที่ได้
ระบบอุปถัมภ์ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่ฝังลึกกันจนเป็นธรรมเนียม ในปัจจุบันเราจะสามารถเห็นได้ว่าในระบบราชการนั้น ใครที่มีเส้นมีสายดีก็จะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือไม่ว่าจะเป็นการบรรจุเข้ารับตำแหน่ง เลื่อนขั้น ก็มีการให้สินบนกัน กระทั่งในโรงเรียน สถานที่ซึ่งเพาะอบรมเยาวชนของชาติก็มีการคอรัปชัน การฝากเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ซื้อที่นั่งในชั้นเรียนเป็นต้น
สาเหตุของการคอรัปชันนั้นมีมากมาย แต่ที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุดคือ ความโลภและความเห็นแก่ตัว เราทุกคนนั้นมีความต้องการด้วยกันทั้งนั้น ธรรมชาติของมนุษย์นั้นก็มีสันชาติญาณ เหมือนกับสัตว์อื่นๆที่อยู่บนโลกใบนี้ ที่ต้องการอาหารเพื่อมาประทังชีวิต ต้องการมีชีวิตรอด แต่ทว่า มนุษย์มีความต้องการที่ซับซ้อนกว่านั้น มนุษย์ต้องการสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความต้องการทางด้านจิตใจ ต้องการความรัก ต้องการการยอมรับจากสังคม ต้องการอำนาจ ต้องการที่จะมีชื่อเสียงและเกียรติยศ และอื่นๆอีกมากมาย ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด และบางคนยอมที่จะทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตน
ความต้องการเป็นแรงผลักดันให้เราทำสิ่งต่างๆ แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักควบคุมความต้องการด้วย ถ้าเราควบคุมความต้องการไม่ได้ ไม่รู้จักพอเพียง เราก็จะพยายามสนองความต้องการนั้นอยู่เรื่อยๆ และมากขึ้นๆ ความโลภนี้เองที่เป็นสาเหตุของการคอรัปชัน ถ้าวิเคราะห์ปัจจัยในการคอรัปชันให้ดีจะพบว่าปัจจัยหลักคือ อำนาจ
อำนาจกับการคอรัปชันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กัน อำนาจสามารถบันดารสิ่งที่ตนเองปรารถนาได้ ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสในการคอรัปชันมากตามไปด้วย ผู้ที่มีอำนาจจึงเป็นผู้ที่จะสามารถคอรัปชันได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของส่วยทางหลวง ตำรวจทางหลวงมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย แต่ตำรวจเหล่านั้นได้ใช้อำนาจที่มีอยู่เป็ช่องทางในการหารายได้เป็นประโยชน์ส่วนตน ผลที่ได้มาคือเงินเข้าสู่พรรคพวกของตนเอง ผลเสียต่อส่วนรวมคือประชาชนที่ไม่รู้เรื่องจำทนต้องใช้ทางหลวงร่วมกับเหล่ารถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน ต้องทนเห็นถนนซึ่งสร้างมาจากภาษีที่พวกเขาจ่ายไปพังไปก่อนเวลาอันควร ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างที่มีความซับซ้อนไม่มาก สิ่งที่ผู้มีอำนาจต้องการจากการคอรัปชันก็คือเงิน ในทางเดียวกันการคอรัปชันก็เปรียบดังการลงทุน ผู้มีอำนาจก็ต้องใช้เงินในการสร้างฐานอำนาจให้กับตนเองเช่นกัน
เงินเป็นวัตถุอันดับแรกๆ ที่จะส่งเสริมอำนาจเพราะเงินสามารถซื้ออำนาจได้ ธุรกิจที่รุ่งเรืองก็เป็นแหล่งที่มาของเงินและอำนาจ ในยุคปัจจุบันอำนาจทางเศรษฐกิจนับว่าเป็นอำนาจที่ทรงพลังมากที่สุด จะเห็นได้ว่าประเทศมหาอำนาจอย่างเช่น ญี่ปุ่น ไม่จำเป็นต้องมีกองทัพใหญ่โต แต่ด้วยเศรษฐกิจที่มั่นคง ก็สามารถเข้ามีอำนาจโลกได้ ในสัดส่วนที่เล็กลง บริษัทที่มีผลประโยชน์มากก็จะมีการคอรัปชันเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีระบบจัดที่รัดกุม
คนที่มีอำนาจมากพอที่จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์ที่สร้างมาป้องกันการคอรัปชันได้จะมีลู่ทางในการโกงกินมากโดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจสิทธิขาดในหน่วยงาน การป้องกันคือเราจะต้องกระจายอำนาจไปสู่คนหลายๆฝ่าย ให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ไม่ยอมให้อำนาจมารวมอยู่ในกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
วิธีที่จะแก้ปัญหาการคอรัปชันได้ดีที่สุดคือการปลูกจิตสำนึกให้กับชาวไทย เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มีผลถาวร รัฐควรให้ความรู้คู่คุณธรรม รณรงค์ให้คนไทยรู้จักหน้าที่ของตน สามารถควบคุมตนเองได้ สอนให้เคารพกฎหมายของบ้านเมืองเราสร้างกฎเกณฑ์มามากมายขึ้นมาตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมของผู้มีอำนาจนั้นก็จะทำให้การคอรัปชันเป็นไปได้ยาก เพราะพวกเขาจะต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น แต่การป้องกันนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เราสร้างมาตรการขึ้นมาควบคุมกลับทำให้เทคนิคการฉ้อโกงซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม
การคอรัปชันก็เกิดจากตัวเราเองถ้าเราสามารถทำตัวเราให้บริสุทธิ์ได้ เราก็จะสามารถไปตรวจสอบผู้ที่สงสัยว่ากระทำการคอรัปชันได้อย่างโปรงใส ทุกวันนี้ระบบการตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบนั้นมีมากมาย สื่อก็มีอำนาจและเสรีภาพเพียงพอที่จะสร้างกระแสทำให้สังคมเราปราศจากการคอรัปชันได้ การแก้ปัญหาไม่ได้ยากเกินความสามารถของเราเลย ขอเพียงเราต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน จากนั้นก็ส่งเสริมให้ผู้คนรอบข้างทำตาม องค์กรของเราก็จะโปร่งใส ผลประโยชน์จะกลับมาอยู่ที่ส่วนรวม ทุกๆคนก็จะมีความสุข

บทความมหาชนที่น่าสนใจจากบัณฑิตใหม่

ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ บล็อกของติ๊กครับ
เลือกไปที่ link ด้านซ้ายมือนะครับ มีบทความดีๆด้านมหาชนรออยู่ครับ

21 July 2006

ศีล5 เท่ากับ ศีล1


ศีล 5 = ศีล 1

เขียนเมื่อตอนเป็นหัวหน้าใหญ่คณะจงรัก วชิราวุธวิทยาลัย ปี2544 ผมว่าแม้ตอนนี้ก็ยังใช้ได้อยู่เพราะเป็นธรรมที่เป็นอกาลิโกครับ
ถ้าสังเกตโลกปัจจุบันดีๆแล้วเราจะพบว่ารอบๆตัวเรานั้นมีแต่ความวุ่นวาย กระแสโลกที่ร้อนระอุไปด้วยไฟสงครามและความแตกแยกทางความเชื่อและศาสนาที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์ของวันที่ 11 กันยายน
เหตุการณ์ในครั้งนี้ก็ส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก ประชาชนชาวสหรัฐฯต้องพากันหวาดระแวงการก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ชาวมุสลิมในตะวันออกกลางและชาวอัฟกานิสถานอีกหลายแสนคนต้องประสบกับภาวะสงครามที่ทำลายพวกเขาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านสังคม
เมืองพุทธเช่นประเทศไทยแม้จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้าเรากระโจนเข้าช่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยปราศจากการไต่ตรองให้ดีก็อาจจะทำให้ประเทศประสบกับความยากลำบากได้
ถ้าเราหันมาวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ด้วยหลักธรรมของพุทธศาสนาให้ดีๆก็จะพบว่า การที่คนต่างๆทะเลาะกันนั้นก็เนื่องมาจากคนเหล่านั้นขาดหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำชีวิต หลักธรรมง่ายๆที่องค์พระศาสดาได้ทรงสั่งสอนประชาชน เช่น ศีล 5 สามารถเป็นหลักธรรมนำชีวิตของเราให้มีความสุขได้ ผมเชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักเพราะเราต่างก็ถูกสั่งสอนและถูกบังคับให้ท่องจำจนขึ้นใจตั่งแต่หัวยังเท่ากำปั่น
ศีลข้อที่ 1. ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและเบียดเบียนผู้อื่น
2. ละเว้นจากการลักทรัพย์
3. ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. ละเว้นจากการกล่าวคำเท็จ
5. ละเว้นจาการดื่มน้ำเมาอันจะทำให้ขาดสติ
จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว ศีล 5 ก็มีหลักสำคัญอยู่เพียงข้อเดียวคือ ละเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ถ้าเราทุกคนยึดมั่นในหลักธรรมนี้ สังคมก็จะสงบสุข ไม่มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกันอย่างเช่นทุกวันนี้
ผมเชื่อว่าทุกศาสนาในโลกนี้ต่างสอนให้มนุษย์เป็นคนดี แม้ว่าจะมีหลักธรรมหรือพิธีกรรมที่แตกต่างกันแต่จุดมุ่งหมายจริงๆแล้วก็คือสิ่งเดียวกัน คือทำให้สังคมมีความสุข ทำให้มนุษย์อยู่รวมกันได้อย่างสันติ
ฉะนั้นในภาวะที่โลกกำลังวุ่นวายผมคิดว่าประเทศไทยควรจะยึดหลักธรรมคำสอนของพระศาสดา สมานไมตรีของคนในชาติเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ต้องไปวิ่งเต้นตามกระแสของสหรัฐฯ หรือให้ความช่วยเหลือรัฐบาลตาลีบัน เราควรที่จะสามัคคีกันสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ให้ประชาชนไทยมีความสุขกันถ้วนหน้า
จะดีกว่าครับ

20 July 2006

มองการพนันเชิงบวก


มองบ่อนการพนันเชิงบวก: ทรรศนะในการพัฒนาสู่โลกเสรีนิยม
โดย พัชร์ นิยมศิลป[1]
การพนันในสังคมชาวไทยอยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน การพนันจัดได้ว่าเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการชนไก่ กัดปลา บ่อนเบี้ย ทอยลูกเต๋า อันจะพบได้จากวรรณคดี หรือพงศาวดารในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้นี้ แม้ว่าเราจะนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแต่การพนันก็ยังฝังรากลึกในสังคมชาวไทย แม้กระทั้งสงฆ์บางรูป(โดยเฉพาะที่ขึ้นชื่อว่าใบ้หวยแม่น)ใช้การพนันเป็นเหตุจูงใจให้คนเข้าวัด หรือคนบางพวกที่เข้าวัด คนเหล่านั้นเข้าวัดไปเพราะอยากทำบุญหรืออยากได้เลขเด็ดไปแทงหวย
เมื่อกล่าวถึงการพนัน เรามักมองการพนันเป็นเรื่องไม่ดี เป็นอบายมุข6 ที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้หลีกหนีให้ห่างไกล ผู้เขียนก็เชื่อว่าการพนันสามารถทำให้คนที่เคยขยันทำมาหากินกลายเป็นคนหมดเนื้อหมดตัว การพนันเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมอีกหลายต่อหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางจริยธรรม ปัญหาผู้มีอิธิพล ยาเสพติด ค้าของเถื่อน ฯลฯ ประเทศเราจึงได้มีกฎหมายควบคุมการพนันคือ พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ห้ามการเล่นการพนันหลายชนิด แต่ก็มีข้อยกเว้นคือหากได้รับอนุญาตชั่วคราวจากตำรวจ ระยะเวลาไม่เกิน 1 วัน ซึ่งจะเป็นโอกาสพิเศษต่างๆเช่น งานวัด มหกรรมสังสรรค์ เทศการงานรื่นเริง เป็นต้น โดยประเภทการพนันที่ตำรวจสามารถอนุญาตให้เล่นได้ก็จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
หากเราพิจาณาว่าจุดประสงค์ของการพนันแท้จริงคือ ความบันเทิง ความสนุกสนาน การแก้ปัญหาการพนันที่แท้จริงคือการปรับมุมมองของนักพนัน ของประชาชนทั่วไปให้มองเห็นการพนันเป็นเพียงกิจกรรมบันเทิงอย่างหนึ่ง ไม่ใช่มองว่ามันเป็นการทำกำไรโดยอาศัยโชควาสนา หรือมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดให้การพนันเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการปราบปราม แต่ไม่ว่าจะสูญเสียงบประมาณไปเท่าไร เสียทรัยากรบุคคลไปเพียงใดก็ไม่สามารถขจัดปัญหาการพนันใต้ดินให้หมดไปจากสังคมไทยได้ คนไทยก็ยังคนเล่นการพนันโดยไม่จำกัดชนชั้นไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือจะมีการศึกษาหรือไม่ หรือจะจริงที่ว่ากันว่าการพนันเป็นหนึ่งในพฤติกรรมถาวรของสังคมไทยไปเสียแล้ว
โทษของการพนันนั้นผู้เขียนขอละไม่กล่าวถึงเนื่องจากทุกวันนี้ก็มีการรณรงค์ไม่ให้เล่นการพนันกันอยู่ สิ่งที่ผู้เขียนอยากเสนอคือ คุณค่าของการพนันที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามไปหรือหลายๆคนอาจจะรับไม่ได้เพราะการพนันมันขัดกับหลักศาสนาอยู่ในตัวอยู่แล้ว กระนั้นก็อยากขอให้หันกลับมาดูในอีกแง่มุมโดยประหนึ่งว่าการพนันเป็นหน้าที่ของรัฐ (ผู้เขียนจะสมมุติว่าการพนันเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งที่รัฐควรจัดให้มี โดยเปรียบเทียบกับ การที่ฝรั่งเศสจัดให้การกีฬาเป็นบริการสาธารณะประเภทวัฒนธรรม)[2] ที่ให้รัฐเข้ามาจัดการบริการสาธารณะประเภทนี้นอกจากจะเป็นการจัดการทางวัฒนธรรมแล้วก็ยังมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เงินรั่วไหลออกนอกประเทศอีกด้วย
ข้อดีของการให้รัฐจัดการพนันในมิติด้านเศรษฐกิจและได้แก่ รัฐจะสามารถหารายได้อย่างมหาศาลจากฐานการพนันที่สร้างขึ้น อันจะเห็นได้จากรายได้ของกองสลากในแต่ละเดือนที่ส่งให้แก่รัฐบาลเพื่อการบริการประเทศ ดังต่อไปนี้[3]
ปีงบประมาณ 2545 = 5,456.17 ล้านบาทปีงบประมาณ 2546 = 7,504.82 ล้านบาทปีงบประมาณ 2547 = 8,872.30 ล้านบาท
รายได้ที่ได้มาก็จะนำมาพัฒนาสังคม นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันเงินไม่ให้ออกนอกระบบไปสู่ธุรกิจใต้ดิน และเมื่อเงินอยู่ในระบบก็จะส่งผลให้ผู้มีอิธิพลขาดรายได้และถอนตัวออกจากระบบตลาดไป เพราะเหตุนี้องค์กรอาชญากรจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหากรัฐเข้ามาจัดการพนันเสียเอง

ดร.วิบูลย์แช่มชื่นประธานคณะอนุกรรมการศึกษาปัญหาพื้นที่ชายแดน คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภาได้ให้สัมภาษณ์ในนิตยสารสารคดี (ปีที่17 ฉบับที่198 สิงหาคม 2544) ไว้ดังนี้ “ปัจจุบันมีบ่อนกาสิโนที่ถูกกฎหมาย อยู่รอบ ๆ บ้านเรา 22 แห่ง มีคนเข้าไปเล่นแห่งละ 700-1,000 คนต่อวัน ถ้าคำนวณจากบ่อนตามแนวชายแดนกัมพูชาราว 10 แห่ง ก็จะมีคนเล่นวันละ 1 หมื่นคน วงเงินคนละประมาณ 5 หมื่นบาท ก็จะมีเงินหมุนเวียนในบ่อนตกประมาณ 500 ล้านบาทต่อวัน นี่คิดเฉพาะชายแดนกัมพูชาเท่านั้น ถ้ารวมชายแดนมาเลเซีย พม่า และลาวแล้ว เงินจะไหลออกนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาทต่อวัน และไม่น่าจะต่ำกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปีถ้ารวมการพนันทุกประเภท ขณะนี้ในประเทศไทยมีสถานการพนันเถื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังควบคุมไม่ได้ มีการลักลอบเล่นการพนันกันอย่างผิดกฎหมาย ถ้าเราทำให้มันถูกกฎหมายเสีย ก็จะควบคุมได้มากกว่า จะสามารถลดหรือกำจัดระบบส่วยที่เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายให้แก่ตำรวจเจ้าหน้าที่เจ้าพ่อหรือพวกที่มีอิทธิพลลงได้” นอกจากนั้นยังกล่าวอีกว่า “ข้ออ้างที่ว่าเป็นการส่งเสริมให้ทำผิด หรือขัดกับหลักศาสนานั้น ก็น่าคิด แต่คนที่เล่นยังไงก็เล่นอยู่แล้ว คนที่ไม่เล่นยังไงก็ไม่เล่น ขึ้นอยู่กับระบบการศึกษา และค่านิยมของพ่อแม่ ครอบครัว การปลูกฝัง ประเทศที่เขานับถือศาสนาเคร่งครัดอย่างอิสลาม เขาก็ยังอนุญาตให้เปิดได้ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร หรือจะมีปัญหาเฉพาะคนไทยคนพุทธ ปัจจุบันมีประมาณ 128 ประเทศที่เปิดให้มีสถานกาสิโนถูกต้องตามกฎหมาย ประเทศเหล่านี้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เขาก็อนุญาตให้เปิดกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล ทำประโยชน์มากมายให้แก่สังคม ”
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างในประเทศมาเลเซียซึ่งมีบ่อนการพนันที่ชื่อว่า Genting Highland สถานพนันแห่งนี้อยู่บนยอดเขาสูงนอกเมืองกัวลาลัมเปอร์ หากจะเรียกว่าเป็นบ่อนการพนันอย่างเดียวคงไม่ถูกนักเพราะที่เก็นติ้งไฮแลนด์นี้มีทั้งสวนสนุก สวนน้ำ โรงแรม ร้านอาหาร สนามกอล์ฟ ผู้เขียนเชื่อว่า เก็นติ่งไฮแลนด์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลักๆของกรุงกัวลาลัมเปอร์ และเป็นจุดหมายของนักพนันจากเมืองไทยด้วย
ประเทศมาเลเซียมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติและการพนันก็เป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนา จุดที่น่าสังเกตคือทำไมเขาจึงอนุญาตให้มีบ่อนการพนัน คำตอบก็คือ เขามีมาตรการในการห้ามไม่ให้ชาวมุสลิมเข้าไปพนัน ดังนั้นเราก็ตีความได้ชัดเจนว่าการพนันที่เขาสร้างขึ้นก็เป็นไปเพื่อดูดเงินนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นเป้าหมายหลักและผู้มีเงินต่างศาสนาในประเทศ เหตุที่ผู้เขียนสรุปดังนี้ก็เนื่องจาก คือ ตำแหน่งที่ตั้งบ่อนอยู่บนยอดเขายากแก่การเข้าถึง ที่พักในบริเวณใกล้เคียงก็ถูกผูกขาดโดยบริษัทที่เข้ามาบริหารค้าใช้จ่ายจึงสูงกว่าปรกติ การกำหนดเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ไม่มากไม่สามารถเข้าถึงบ่อนได้ ฉะนั้นบ่อนการพนันในสายตารัฐบาลมาเลเซียก็คือเครื่องมือในการหารายได้ให้ ทั้งยังเป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยว สร้างการจ้างงานและนำความเจริญสู่พื้นที่อีกด้วย
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยจัดว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้หลักให้แก่ประเทศ สิ่งเป็นจุดขายได้แก่ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันสวยงาม วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนสินค้าหัตถกรรมที่ประณีตแต่สิ่งที่เราขาดคือการสร้างแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก(world class) ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น สวนสนุกดิสนีแลนด์ ชิงช้าสวรรค์ลอนดอน(London eye) โรงแรมหรูในลาสเวกัส เป็นต้น หากเราจะผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ไทยเป็นเป้าหมายการท่องเที่ยว เราก็จะต้องสร้างสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว(ที่นอกจากพัฒพงษ์และพัทยา) เอาไว้ด้วย ซึ่งแน่นอนหนึ่งในนั้นคือ บ่อนการพนัน
แนวคิดเช่นนี้มิได้เกิดในประเทศมาเลเซียเท่านั้น ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาก็จัดให้มีบ่อนการพนันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยสร้างติดกับชายแดนเพื่อเป็นการสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยในการไปเล่นการพนัน การประมาณการค่าใช้จ่ายของคนไทยในบ่อนการพนันในต่างประเทศเพิ่มเติม ในการศึกษาปี พ.ศ.2544 ประมาณการเงินที่ลูกค้าคนไทยนำไปเล่นที่บ่อนการพนันที่กาสิโนชายแดน 34 แห่ง และกาสิโนต่างประเทศ เช่น ที่ออสเตรเลีย ลาสเวกัส มาเก๊า นิวซีแลนด์ และอังกฤษ ว่าอยู่ในราว 71,000-84,000 ล้านบาทต่อปี และนักวิจัยประมาณการว่าลูกค้าคนไทยขาดทุนในราวร้อยละ 20 หรือราว 14,000-17,000 ล้านบาทต่อปี[4] จากตัวเลขที่เห็นนับว่าเป็นจำนวนที่สูงมาก หากรัฐบาลสามารถรักษาเงินจำนวนดังกล่าวให้อยู่ในประเทศได้ก็จะเป็นผลดีต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ผู้เขียนเชื่อว่าหากเรามีกระบวนการจัดการพนันที่เป็นระบบเป็นระเบียบ เราก็สามารถเปลี่ยนโทษเป็นคุณได้ และอาศัยการพนันเป็นอาวุธเพื่อสู้กับการต่อสู้บนเวทีการค้าเสรี ในอนาคตทุกๆประเทศต่างก็แข่งขันกันอย่างเท่าเทียมกัน ประเทศเรามีชื่อเสียงในด้านการบริการแล้วทำไมเราถึงไม่ใช้จุดแข็งของเรา
หากสังคมไทยยังรับไม่ได้กับการเปิดบ่อนกาสิโนในประเทศ ผู้เขียนขอเสนอว่าเราควรสร้างโครงการทดลองโดยกำหนดให้เป็นบ่อนเฉพาะชาวต่างชาติเท่านั้น โดยเลือกพื้นที่ให้ห่างไกลจากชุมชน และสร้างเป็นศูนย์การบันเทิงครบวงจร(Entertainment Complex) รัฐในฐานะผู้จัดการบริการสาธารณะอาจร่วมทุนกับเอกชนดำเนินการ จากนั้นก็ศึกษาข้อดี-ข้อเสีย แล้วจึงมาทำประชาพิจารณ์ การทำเช่นนี้จะได้รับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ประมาณการณ์
อย่างไรก็ดีหากเราอนุญาตให้มีบ่อนการพนัน รัฐก็ควรจัดให้มีองค์กรที่จัดการและให้ความรู้เกี่ยวกับการพนันสำหรับชาวไทยซึ่งอาจจัดตั้งขึ้นมาในรูปคณะกรรมการอยู่ในหน่วยงานของรัฐ เป็นต้นว่า คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานกิจการกาสิโน คณะกรรมการกลั่นกรองผู้ที่จะเล่นการพนัน ผู้ที่จะเขาเล่นพนันจะถูกตรวจประวัติและคุณสมบัติเสียก่อน เช่น อายุ รายได้ ประวัติอาชญากรรม สถานภาพ เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเล่นพนันจนหมดเนื้อหมดตัวและไม่ให้คิดว่าเล่นการพนันไปเพื่อทำกำไร นอกจากนั้นรัฐจะต้องป้องกันคนที่มีรายได้ต่ำหรือนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ไม่มีรายได้ ไม่ให้เข้าสู่วงจรการพนันที่รัฐจัด นอกจากการป้องกันในขั้นต้นแล้วการจัดให้มีองค์กรที่ทำการเยียวยาหรือให้คำปรึกษาจากผู้ที่เสพติดการพนันเพราะเมื่อรัฐจัดให้มีการพนันแล้ว ผลเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดรัฐก็จะกลายเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง กล่าวโดยสรุปก็คือเมื่อรัฐจะจัดให้มีกาสิโนแล้วก็ควรที่จะจัดการรักษาผลเสียของกาสิโนที่เกิดขี้นในภายหลังด้วย นอกจากนั้นสิ่งที่น่ากลัวอีกประการหนึ่งของบ่อนการพนันของรัฐคือ การฟอกเงิน เราต้องจัดระบบป้องกันไม่ให้บ่อนการพนันของรัฐกลายเป็นแหล่งฟอกเงินของธุรกิจผิดกฎหมายต่างๆไป
ในบ้านเราประเด็นเรื่องการเปิดเสรีบ่อนกาสิโนถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่เถียงกันไม่จบวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างยาวนาน แต่ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อมีการนำเอาหวยใต้ดินขึ้นมาเป็นสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว เมื่อครั้งหวยใต้ดินเป็นปัญหามากแล้วรัฐบาลจะจัดให้มีหวยชนิดนี้ สังคมก็ออกมาวิพากษ์กันอย่างกว้างขวาง เหตุผลหลักๆ ที่นำมาคัดค้านก็เหมือนกับที่เอามาเป็นข้ออ้างในกรณีบ่อนเสรีเหมือนกัน วันนี้สลากเลขท้ายทำกำไรให้กับรัฐมากมายหากจะถามว่าคนซื้อหวยเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็คงตอบกันไม่ถูก แต่สิ่งที่รู้ๆ กันก็คือเงินที่ได้จากการขายสลากเลขท้ายเป็นเงินทุนมาพัฒนารัฐ เป็นโอกาสทางการศึกษาส่งเด็กนักเรียนยากจนไปเรียนเมืองนอก อาชญากรรมที่ว่ากันว่าจะมีมากขึ้น เราก็เห็นว่ามูลเหตุหลักๆก็ยังเป็นธุรกิจที่อยู่ใต้ดิน เช่น ตามล่าลูกหนี้พนันบอล บ่อนลอยฟ้า เป็นต้น ผู้เขียนเห็นว่าตัวอย่างจากสลากเลขท้ายก็จัดว่าเป็นต้นแบบในการตั้งบ่อนกาสิโนของรัฐได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หลักการในการตั้งบ่อนของรัฐจะต้องชัดเจนว่าเป็นไปเพื่อจัดให้มีสถานบันเทิงและเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ
อนึ่งขอให้เทียบกับการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจกรณีเบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่ได้ก็เพราะมีกระแสสังคมออกมาต่อต้านเนื่องจากเห็นว่าเป็นธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมของประชาชนโดยอ้างว่าหากให้ยอมให้เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะทำให้เบียร์ถูกลงแล้วก็จะส่งผลให้คนดื่มกันมากขึ้น วันนี้เบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ผลก็คือเบียร์ช้างยังคงสามารถมากระจายหุ้นให้แก่คนไทยในประเทศไทยได้โดยผ่านนายหน้าสิงคโปร์ สิ่งที่เสียไปคือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ ตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่ได้ค่าธรรมเนียม โบรคเกอร์สิงคโปร์ยิ้มรับเงินอย่างสบายใจ หลักทรัพย์(สินค้า)ที่ควรจะอยู่ในตลาดไทยก็ไม่ได้อยู่ ย้อนกลับมาถามว่าทุนของเบียร์ช้างมันเพิ่มขึ้นหรือไม่ แล้วเบียร์ช้างจะขยายการผลิตได้หรือเปล่าคำตอบคือได้เพราะในส่วนผลประโยชน์ของเบียร์ช้างมันเท่าเดิมแต่ส่วนผลประโยชน์ชาติมันหายไป กล่าวรวบยอดก็คือรัฐบาลไทยควรจะมองการพนันว่าเป็นสันทนาการอย่างหนึ่ง เป็นกิจกรรมที่มีโทษแต่ก็มีประโยชน์อยู่บ้างเหมือนกัน รัฐควรเข้าจัดการโดยถือว่าเป็นภาระของรัฐที่จะเข้าควบคุมและบริหารจัดการ ดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ไม่ได้เป็นบทบัญญัติที่เป็นเครื่องมือในการ “ปราบปราม” การพนันให้หมดไป แต่กลับเป็นบทบัญญัติที่เข้าทำการ “ควบคุม” โดยให้อำนาจตำรวจและคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาให้อนุญาตเล่นการพนัน ดังนี้แล้วเมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวเองก็มิได้มีเจตนาในการปราบปราม รัฐก็ควรนำพระราชบัญญัตินี้มาอนุวัฒน์ให้เข้ากับยุคปัจจุบันที่ “ทุน คือความมั่นคงของชาติ” การรักษาทุนให้หมุนเวียนอยู่ในชาติก็เหมือนกับกองทัพที่มีกำลังพลเป็นรั้วของชาติ ผู้เขียนไม่อยากให้เข้าทำนองที่ว่า “มือถือสากปากถือศีล” อันจะสังเกตได้จากปัญหาที่เกิดจากการพนันก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ทุกวัน การพนัน ผู้มีอิธิพล ผู้มีสี นักเลงคุมบ่อน นักเสี่ยงโชคก็ยังเป็นกลุ่มที่ยังขลุกอยู่ในวงการนี้ ส่วนประเทศไทยก็ต้องกินน้ำใต้ศอกประเทศเพื่อนบ้านต่อไป [1] นิสิตมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[2] นันทวัฒน์ บรมานันท์,สัญญาทางปกครอง ,สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ.2546
[3] ที่มา สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล http://www.glo.or.th/detail.php?link=revenue
[4] เอกสารประกอบการรายงานผลการวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เรื่อง เศรษฐกิจการพนัน : ทางเลือกเชิงนโยบายศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มปท.

ยินดีต้อนรับ


สวัสดีทุกท่าน ยินดีต้อนรับสู่
Pat Republic
สาธารณรัฐแห่งฝันที่ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้