24 July 2006

กกต.แพะหรือแกะดำ


กกต.แพะหรือแกะดำ
http://www.thairath.co.th/showcartoon.php?cat=129
เมื่อเช้าอ่านข่าวนสพ. การ์ตูนล้อเลียนเป็นมุขหาก กกต.ถามนักข่าวว่าตนเองผิดอะไร
ผมก็สงสัยอยู่ว่ากกต.ทำผิดอะไร ทำไมถึงต้องออก
หนึ่ง -----ใครจำได้หรือไม่ ตอนที่ประท้วงไล่นายกฯ สื่อก็โจมตีแต่นายกฯ ประโคมข่าวม็อบกันทั้งวันทั้งคืน กกต.ไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไร
สอง-----พอนายกฯยุบสภา สื่อก็หันไปเล่นข่าวพรรคฝ่ายค้านที่ไม่ลงสมัคร
สาม -----เลือกตั้งเสร็จก็หันมาเล่นงานกกต.อีก
สี่ -------ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมรวมหัวกันฟันธงคดีเลือกตั้ง ผมก็สงสัยว่าอาการอย่างนี้มันชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะตามกฎหมายมันมีกรณีเดียวเท่านั้นที่ศาลจะสามารถมารวมตัวกันได้ก็คือคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจระหว่างศาล มาปรึกษาหาทางออกเรื่องเขตอำนาจศาล
สี่ ที่แย่ที่สุดคือกรณีที่ศาล ผ่านตัวแทน เช่น สำนักงานศาลฯ ผู้พิพากษา ออกมาเรียกร้องให้กกต.ลาออก โดยอ้างว่าทำตามพระราชกระแส สิ่งที่พระองค์ท่านย้ำในวันที่พระราชทานคำแนะนำคือ "อย่ามั่ว" เพราะปัญหามันเกิดจากการมั่ว แล้วศาลซึ่งเป็นองค์กรชี้ขาด ไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย แต่กลับมาใช้อำนาจตุลาการนอกศาล กดดันกกต. ผมว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูก จะเป็น Judicial Activism ก็ไม่ใช่ ผมเห็นว่าผู้พิพากษาไม่ควรแสดงความเห็นที่เป็นการชี้ขาดใดๆต่อกรณีปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้เลย ด้วยเหตุว่าหากกกต.ตกเป็นจำเลยที่ตนต้องตัดสิน ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมก็คือกกต. เพราะศาลได้ฟันธงว่าผิด "ตั้งแต่ยังไม่พิจารณาความ" ขัดกับหลักในรัฐธรรมนูญที่รับรองใน มาตรา ๓๓ "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" แล้วเมื่อศาลและตัวแทนศาลออกมาแสดงจุดยื่นพร้อมกับกดดันกกต.ให้ลาออกเยื่ยงนี่จะยุติธรรมกับกกต.หรือ?
ห้า--เมื่อศาลตัดสินตามธงว่า เลือกตั้งไม่ชอบ ตุลาการมานิตย์ให้ความเห็นว่า ที่กกต.จัดการเลือกตั้งไม่ผิดกฎหมาย แต่ตัดสินให้เลือกตั้งใหม่ แล้วหลักเรื่องนิติรัฐ หลักเรื่อง constitutionalism หลัก Vettrauensschutzprinzip (หลักคุมครองความสุจริตของการออกคำสั่งทางปกครอง, German) เราจะเอาหลักอะไรมาเป็นเกณฑ์ที่บอกว่า กกต.กระทำผิดละครับ เท่าที่ทราบ หลายๆ ประเทศในโลกก็หันคูหาออก อินเดีย ลาว ที่เพิ่งเลือกตั้งไป ดูจากทีวีก็หันคูหาออก หากจะเอาการจัดคูหามาเป็นตัววัดว่าการเลือกตั้งไม่ชอบเพราะไม่สุจริตผมว่าก็คงจะเกินไป แล้วทำไมไม่มีการเพิกถอนพวก อบต.ที่เลือกๆไปก่อนหน้าละครับ
หก-----หาก กกต. ผิดจริงทำไมไม่พิจารณาไปตามกระบวนการศาลละครับ หากเห็นว่าเป็นคดีพิเศษก็จัดการให้มันรวดเร็วก็ได้ ไม่เห็นจะต้องมารวมหัวกันเป็น Special Tribunal เลย ในหลวงท่านให้ไปหาทางออกร่วมกัน แต่ไม่ได้ให้ใช้อำนาจร่วมกัน อีกทั้งการตั้ง
เจ็ด-----ครั้นเป็นอย่างนี้แล้วก็คงจะได้แต่สงสารกกต.ที่เป็นแพะของไฟการเมือง ใครจะมาล้างมลทินก็ไม่มี กว่าจะผ่านเข้ามาได้ก็ยากลำบาก ต่อไปใครจะกล้ามาเป็น กกต.อาสารับใช้ชาติละครับ
แปด--- การสรรหา กกต.ที่ขาดไป 2 ท่าน ผมเห็นว่ากรณีนี้ที่ประชุมศาลฎีกาเองก็ไม่มีอำนาจ เพราะติดเงื่อนเวลาในรัฐธรรมนูญ ตาม มาตรา 138
มาตรา ๑๓๘ การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนห้าคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น
(๓) การเสนอชื่อตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม (๑)
(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบห้าคน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก
เก้า---- ศาลเป็นองค์กรที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในทางการเมืองจริงหรือ? อาจจะจริงตามกฎหมายเอกชน แต่หากว่ากันตามหลักกฎหมายมหาชนแล้ว เรื่องการเมือง ศาลยุติธรรมไม่ควรเข้ามาเกี่ยว เพราะ ศาลไม่มีระบบที่ให้ผู้อื่นมาตรวจสอบหนึ่ง ศาลเป็นระบบปิดไม่มีคนนอกเข้ามากลางระบบหนึ่ง ผู้พิพากษาอาจมีประโยชน์แอบแฝงหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้เราจึงต้องให้คดีมีศาลการเมืองเป็นการเฉพาะ นั้นก็คือศาลรัฐธรรมนูญ

เก้าประการนี้ขอเอามาเป็นข้อคิดในการพิจารณาว่า กกต.เป็นแพะหรือแกะดำ

No comments: