13 November 2010

ASEAN Rise MV

28 January 2009

สถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนเมื่อมีการยุบพรรคการเมือง


สถานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนเมื่อมีการยุบพรรคการเมือง

การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการปกครองที่ใช้รูปแบบการปกครองระบบผู้แทนราษฎรเนื่องจากเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้แทนราษฎรกับประชาชน การใช้อำนาจอธิปไตย อันได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ในระบอบประชาธิปไตยนั้นผู้ที่เข้าสู่อำนาจทั้งสองประเภทดังกล่าวจะต้องมีส่วนเชื่อมโยงกับประชาชน เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยยึดถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ปัจเจกชนแต่ละคนได้รวมตัวกันเป็นสังคมและถือว่าแต่ละคนต่างเป็นผู้ทรงสิทธิส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ด้วยเหตุฉะนี้ปัจเจกชนแต่ละคนจึงเป็นเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้งและสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวนโยบายสาธารณะ[1] ดังนั้นไม่ว่าประชาชนคนใดคนหนึ่งนั้นจะยากดีมีจนหรือขาดไร้ซึ่งการศึกษาเพียงใด หากเพียงแต่เป็นประชาชนของประเทศนั้นแล้ว สิทธิในการลงคะแนนเสียงของเขาก็จะเท่ากับประชาชนคนอื่น ๆ ในประเทศนั้นเช่นกัน สิทธิในการลงคะแนนเสียงของพลเมืองไทยสามารถแสดงออกในการเลือกตั้งทั่วไปได้สองประเภท กล่าวคือ การเลือกผู้แทนราษฎรประเภทแบ่งเขตเลือกตั้งและการเลือกบัญชีรายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ประเภทสัดส่วน (บัญชีรายชื่อ) ปรากฎครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
(ฉบับประชาชน
) โดยรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มาตรา 98 ได้กำหนดให้การเลือกตั้ง ส.ส. เป็นแบบผสมระหว่างการเลือกตั้งระบบสัดส่วนตามบัญชีรายชื่อของพรรคและการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต การปรับปรุงระบบการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งแบบผสมนี้ได้นำตัวอย่างมาจากประเทศเยอรมันและประเทศญี่ปุ่น[2] โดยมุ่งหมายให้การเลือกตั้ง ส.ส. มีทั้งจากประชาชนซึ่งเป็นคนในพื้นที่มีความใกล้ชิดกับคนในท้องถิ่นและจากประชาชนทั้งประเทศที่แสดงถึงความต้องการของชาติโดยรวม[3] อนึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาตรา 96 (1) ได้กำหนดให้ส.ส.แบบสัดส่วนมาจากแปดกลุ่มจังหวัด กล่าวคือมีจำนวนส.ส.สัดส่วนแปดบัญชีตามกลุ่มจังหวัด ส.ส.แต่ละบัญชีจึงสะท้อนความต้องการของกลุ่มจังหวัด แต่โดยเนื้อหาแล้วรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับดังกล่าวยังคงใช้ระบบการเลือกตั้งแบบผสมเหมือนกัน นอกจากนั้นในประเทศที่มีการเลือกตั้งระบบสัดส่วน เช่น เยอรมันและญี่ปุ่น ต่างก็ไม่ได้ใช้เขตประเทศเป็นเลือกตั้งเดียว หากแต่แบ่งเป็นหลายเขตเช่นเดียวกับประเทศไทยในปัจจุบัน[4] ดังนั้นการวิเคราะห์สถานะของส.ส.สัดส่วนต่อไปนี้จะยึดเจตนารมณ์ทั่วไปของระบบ ส.ส.สัดส่วน

เมื่อพิจารณาเหตุผลที่จัดให้มี ส.ส.ประเภทสัดส่วนนั้นจะพบว่ามีเจตนาเพื่อส่งเสริมพรรคการเมืองโดยมุ่งให้ประชาชนเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งโดยพิจารณาจากนโยบายพรรคเป็นหลัก[5] มิใช่พิจารณาคุณสมบัติของบุคคลผู้อยู่ในบัญชีเป็นหลัก อันจะเห็นได้จากการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถเลือกบุคคลในบัญชีเป็นคน ๆ ได้ ต้องเลือกทั้งบัญชีพรรคการเมืองบัญชีใดบัญชีหนึ่งเท่านั้น การจัดให้มีส.ส.ประเภทสัดส่วนนี้ยังเป็นการเสนอช่องทางเข้าสู่การเมืองของ นักการเมืองหน้าใหม่ที่มีความรู้ความสามารถแต่หาเสียงไม่เก่ง อีกทั้งเป็นทางเลือกที่พรรคการเมืองจะบรรจุหัวหน้าพรรคและผู้ที่คาดว่าจะเป็นรัฐมนตรีลงในบัญชีรายชื่อของพรรคให้ประชาชนพิจารณาก่อน ซึ่งกรณีนี้เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดนายกรัฐมนตรีจะต้องมาจาก ส.ส. และกำหนดให้สถานะรัฐมนตรีกับสถานะส.ส.แยกออกจากกัน เมื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) แล้วจะดำรงตำแหน่ง ส.ส. (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ในขณะเดียวกันไม่ได้เนื่องจากเป็นการขัดแย้งกันระหว่างอำนาจสองฝ่าย ดังนั้นเมื่อนำส.ส.สัดส่วนมาร่วมคณะรัฐมนตรี ผู้ที่มีชื่อลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อก็จะเลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน ไม่จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งซ่อมดังกรณีการนำส.ส.ประเภทแบ่งเขตเลือกตั้งมาเป็นรัฐมนตรี การจัดยุทธศาสตร์การเลือกตั้งจึงนิยมนำผู้ที่พรรคคาดว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีไปบรรจุในบัญชีรายชื่อ ดังนี้เมื่อถึงคราวเลือกตั้งประชาชนจึงมิเพียงแต่เลือกผู้แทนราษฎรที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติเท่านั้น ประชาชนยังมีโอกาสที่จะเลือกผู้ที่คาดว่าจะอยู่ในคณะรัฐมนตรีอีกด้วย เพราะฉะนั้นหากจะกล่าวว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วนนั้นเป็นการที่ “พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค” ก็คงไม่ผิดนัก[6]

นอกจากคุณสมบัติที่แตกต่างจากส.ส.ประเภทแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ข้อสนับสนุนประการถัดมาที่แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนเป็นการให้ประชาชนเลือกพรรคมิใช่เลือกตัวบุคคลจะสังเกตได้จากบัตรเลือกตั้งจะปรากฎแต่เพียงเบอร์ของพรรคการเมืองและชื่อหรือสัญลักษณ์ของพรรคเท่านั้น อีกทั้งวิธีคิดจำนวนส.ส.ที่พึงมีในแต่ละบัญชียังแสดงให้เห็นว่า จำนวนส.ส.ในแต่ละบัญชีสัมพันธ์กับคะแนนเสียงของพรรคในกลุ่มจังหวัดมิใช่ในแต่ละจังหวัด ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากการเลือกตั้งจึงควรเป็น “โควต้าตามบัญชีรายชื่อของพรรคการการเมือง” มิใช่ยึดติดกับตัวบุคคลผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น ส.ส.ประเภทสัดส่วนจะนำสิทธิตามบัญชีรายชื่อนั้นไปใช้ดังสิทธิที่ติดกับตัวบุคคลเหมือนส.ส.ประเภทแบ่งเขตหาได้ไม่

เมื่อผลการเลือกตั้งประเภทส.ส.สัดส่วนเป็น “โควต้าตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง” แล้ว ส.ส.ประเภทสัดส่วนนี้จึงไม่สามารถนำตำแหน่งของตนไปย้ายพรรคเข้าพรรคการเมืองใหม่หรือหาพรรคการเมืองสังกัดใหม่ได้เนื่องจากเป็นการนำโควต้าตามบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเดิมไปเพิ่มให้กับพรรคการเมืองที่เข้าไปสังกัดใหม่ หากอนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้ก็จะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อผู้ลงคะแนนเสียง โดยเฉพาะผู้ลงคะแนนที่เป็นปฏิปักษ์กับพรรคการเมืองที่รับส.ส.สัดส่วนเข้ามาเพิ่ม อีกทั้งไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่มีชื่อในลำดับถัดไปของบัญชีรายชื่อ (Waiting List) ซึ่งก็จะเกิดปัญหาว่าผู้ที่อยู่ใน Waiting List จะสิ้นสุดไปหรือโอนติดตามกันไปหรือไม่ และหากโอนได้สถานะของ Waiting List จะติดตามกันไปอย่างไร

น่าสังเกตว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับปัจจุบันต่างก็มุ่งกำจัดการซื้อขายเสียงและกำหนดบทลงโทษการซื้อขายเสียง แต่กระนั้นกลับไม่มีการห้ามการซื้อขายนักการเมืองและไม่มีบทลงโทษนักการเมืองที่ขายตัวและพรรคการเมืองที่ขายตัวนักการเมือง[7] ดังนั้นการให้ส.ส.แบบสัดส่วนที่ถูกยุบพรรคสามารถหาพรรคการเมืองใหม่สังกัดได้โดยอิสระจะก่อให้เกิดปัญหาการซื้อขายตัวส.ส.ภายหลังจากมีการยุบพรรค กรณีเช่นนี้หากพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการทุจริตการเลือกตั้งรุนแรงยิ่งกว่าการซื้อสิทธิขายเสียงกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสียอีก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการซื้อผลสำเร็จของการเลือกตั้ง คะแนนที่ซื้อได้ก็สามารถนำมาใช้การได้ทันทีไม่ต้องรอคณะกรรมการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้ง นายทุนพรรคการเมืองสามารถอาศัยช่องว่างของกฎหมายข้อนี้เป็นช่องทางสร้างฐานอำนาจทางการเมืองโดยมิชอบซึ่งการนี้จะเป็นการทำลายระบบพรรคการเมืองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เมื่อรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้การเมืองมีเสถียรภาพโดยเฉพาะในระบบพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ ส.ส.นั้นต้องสังกัดพรรคการเมืองส่งผลให้ความเป็นส.ส.ก็จะยึดติดกับพรรคไม่ใช่ยึดติดกับตัวบุคคล[8] พรรคการเมืองจะต้องมีความแข็งแรงและมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เนื่องจากพรรคการเมืองเป็นองค์กรทางการเมืองที่กำหนดตัวผู้ที่จะมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเพียงองค์กรเดียวเท่านั้น หากปล่อยให้พรรคการเมืองขาดเสถียรภาพรัฐบาลก็จะขาดเสถียรภาพเช่นกัน ดังนั้นจากเหตุผลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนจึงเห็นว่าเมื่อพรรคการเมืองถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค สมาชิกภาพของ ส.ส. สัดส่วนก็ควรที่จะสิ้นสุดลงไปด้วย ไม่ควรให้ส.ส.ประเภทสัดส่วนหาพรรคใหม่สังกัดภายในหกสิบวันหลังจากมีคำสั่งยุบพรรคได้เหมือนดังส.ส.ประเภทแบ่งเขต



[1] เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย, กรุงเทพ, วิญญูชน, 2550, หน้า 192

[2] บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, รัฐธรรมนูญน่ารู้, กรุงเทพ, วิญญูชน, 2542, หน้า 282

[3] จำนงค์ ถาวรวิสิทธิ์, ศึกษาเปรียบเทียบระบบและวิธีการเลือกตั้ง ส.ส.ของไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กับระบบและวีธีการเลือกตั้ง ส.ส.ตามกฎหมายของเยอรมัน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542, หน้า 35

[4] เรื่องเดียวกัน,หน้า 160

[5] นรนิติ เศรษฐบุตร, รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย, กรุงเทพ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550, หน้า 328

[6] คณิน บุญสุวรรณ, รวมสาระรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน, กรุงเทพ, สำนักพิมพ์มติชน, 2541, หน้า 234

[7] รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เล่ม 2, กรุงเทพ, มติชน, 2546, หน้า 54

[8]บุศรา เข็มทอง, การรวมพรรคการเมือง:ศึกษาผลกระทบต่อการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ, วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต
คณะนิติศาสาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2546, หน้า 108

01 December 2008

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา

หลังจากที่พากเำพียรเรียนเรื่องกฎหมายมหาชนมาเป็นเวลาหลายปี ความเชื่อที่สังสมในตัวว่านิติรัฐคือเป้าหมายที่ประเทศไทยจะต้องไปให้ถึง หลังจากเรียนจบ รธน.2540 ก็ถูกคณะรัฐประหารฉีกทิ้ง องค์กรการเมืองถูกเปลี่ยนแปลง องค์กรอิสระที่ถูกสงสัยว่าไม่เป็นกลาง ก็ไม่เป็นกลางจริงๆ (วัดได้จากผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วม)

มาวันนี้ ทำเนียบฯ ถูกยึด สนามบินถูกยึด สภาพไม่ต่างกับถูกปิดประเทศโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งอ้างสิทธิตามรธน.แต่ไม่ได้ใยดีต่อสาระของ รธน.เลย

รัฐบาลก็ไม่ต่างกับคนเป็นง่อย ทำอะไรไม่ได้แม้แต่จะรักษาความสงบเรียบร้อย ทหารก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง กลับกลายเป็นพลังการต่อรองทางการเมืองเสียนี้ แล้วที่พร่ำมาตลอดว่าทหารในยุคนี้เป็นทหารอาชีพ หมายความว่าอย่างไร

นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัยบางกลุ่มก็ออกมาเรียกร้องให้ปฏิวัติ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า มันเท่ากับเป็นการเปิดประตูให้โจรปล้นบ้าน ทั้งหมดนี้มันหมายความว่าอย่างไร ?? สงสัยบ้านเมืองนี้จะไม่ใช่ของเราอย่างที่เขาเอาไปตั้งเป็นชื่อรายการในเว็ปประชาไท

ผมคิดอยู่ว่า ประเทศไทยวันนี้กำลังมีลักษณะใกล้กับ Failed state
ในวิกี้พีเดีย อธิบายไว้ว่า "A state could be said to "succeed" if it maintains, in the words of Max Weber, a monopoly on the legitimate use of physical force within its borders. When this is broken (e.g., through the dominant presence of warlords, paramilitary groups, or terrorism), Weber clearly explains that only the state has the means of production necessary for physical violence (politics as vocation). This means that the state does not require legitimacy for achieving monopoly on the means of violence (de facto) but will need one if it needs to use it (de jure)."

สำหรับตัวชี้วัดทางการเมืองของรัฐที่ล้มเหลวได้แก่
1. Criminalization and/or delegitimisation of the state
2.
Progressive deterioration of public services
3.
Widespread violation of human rights
4.Security apparatus as ‘state within a state
5.Rise of factionalised elites
6.
Intervention of other states or external factors

แล้วลองพิจารณากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนะครับ ผมว่ามันใกล้เข้ามาทุกทีแล้วนะครับ

ในเอเชียตะวันออกนี้มีสองประเทศเท่านั้นครับที่อยู่ลักษณะเช่นว่านี้ คือเกาหลีเหนือกับพม่า

สิ่งที่หวังไว้ลึกๆคือ ประเทศไทยคงไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันครับ

พรุ่งนี้จะมีการตัดสินคดียุบพรรคร่วมรัฐบาลสามพรรค ท่าทางจะรอดยาก เราก็ได้แต่ติดตามดูความเปลี่ยนแปลงละครับเพราะนี้เป็นบ้านเมือง(ไม่ใช่)ของเรา

29 October 2008

วรเจตน์ชี้นักกฎหมายมหาชนต้องมีเกราะป้องกัน

บทความเรื่อง

การกระทำทางรัฐบาลกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 547/2551 (เขาพระวิหาร)
โดย อาจารย์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เผยแพร่ใน www.pub-law.net http://www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1292

ผมอ่านแล้วกินใจมาก บทที่ยกมาเป็นบทสรุปซี่งเห็นว่ามีประโยชน์ และตรงใจที่สุดจึงขอนำมาโำพสต์ไว้เตือนใจนะครับ


"ในฐานะนักกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาทางกฎหมาย นักกฎหมายทุกคนไม่ว่าจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย อัยการ ผู้พิพากษาตุลาการ หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอื่น ต้องตระหนักว่าการวินิจฉัยปัญหานั้นจะต้องมีเกณฑ์และมีเหตุผลรองรับ จะใช้ความรู้สึกนึกคิดทางการเมืองของตนเข้าแทนที่หลักวิชา แล้ววินิจฉัยปัญหาไปตามความรู้สึกนึกคิด ความต้องการทางการเมืองของตนไม่ได้ กล่าวเฉพาะนักกฎหมายมหาชนซึ่งจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาทางกฎหมายที่ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินนั้น จะต้องตระหนักว่าตนกำลังวินิจฉัยปัญหาทางกฎหมาย ไม่ใช่กำลังแสดงออกซึ่งความต้องการทางการเมืองของตน ซึ่งสิ่งเดียวที่จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ “หลงทาง” ก็คือ ความซื่อตรงต่อหลักวิชา ต่อเหตุผลตามหลักวิชาที่ได้พิสูจน์กันมาจนยอมรับนับถือกันทั่วไป เพราะหากนักกฎหมายมหาชนบิดเบือนหลักวิชาเพื่อตอบสนองความต้องการทางการเมือง ของตนเสียแล้วไม่ว่าจะในนามของอะไรหรือเพื่อใครก็ตาม การวินิจฉัยปัญหานั้นก็หามีคุณค่าใดควรแก่การยอมรับนับถือไม่ และการกระทำดังกล่าวก็จะค่อยๆทำลายวิชานิติศาสตร์ลงไปในที่สุด"

11 October 2008

Jokes around Bangkok City

I found some jokes on a blog... they are quite cool though. ha ha The person who wrote all this might be a Thai. Anyway.... I still like them lah..



Brand New Jokes about Thais and Thailand!

Joke One: Guess Why the Thai Government Office is located at the Airport? Answer: Because the government there always need a quick get-away from the mob.

Joke Two: How many times does the mob in Thailand say they have won, in a day? Answer: It depends on how many times they jerk-off in a day.

Joke Three: Guess what the Thai courts ruled against Thaksin today? Answer: They ruled that Thaksin should go straight to jail without a trial.

Joke Four: Guess what country want to stop democracy because it thinks the people are too stupid to vote? Answer: I am not sure but is it between Germany under Hitler or Thailand under the mob.

Joke Five: Why does the non-violent mob in Thailand carry guns, bombs and knives? Answer: Because they think a good peaceful protest comes after a good violent protest.

Joke Six: Why did Thaksin put all the money he made or corrupted, openly in Thai banks? Answer: Because he didn’t watch enough Thai TV to see how jealous Thais are.

Joke Seven: What happens when a Thai Airways captain, a Thai doctor and the Thai government meet? Answer: The doctor beats up the government and the captain throws the government off the plane.

Joke Eight: How long will the Thais go on fighting among themselves? Answer: Until they develop a human brain and stand straight.

Joke Nine: Why does the Thai mob full of hate and anger? Answer: Because the more they protest, the more sympathy the government gets.

Joke Ten: What ever happened to the easy going and smiling Thais to make them so up-tight now days? Answer: They got screwed up the butt too many times by the mob.

Joke Eleven: Where did Hitler, Pol Pot, Iddy Armin and Stelin go to school? Answer: Thailand’s best universities; Chula and Thammasart.

Joke Twelve: What is the Thai military good for except for staging coups? Answer: Saying how much they love democracy after the coup fails.

Joke Thirteen: Who is really behind the Thai mob? Answer: Keep looking high-up and you will find the answer.

Joke Fourteen: How many constitutions did Thailand have so far? Answer: How many times can Jordan score in a basketball game?

Joke Fifteen: What does Thai doctors check first-the blood pressure, the weight or the temperature? Answer: None of the above-they check your political views first.

Joke Sixteen: Why is the Wall Street crisis not hurting Thailand? Answer: Because the mob did a better job destroying the Thai economy.

Joke Seventeen: Why do the Thai courts, the Thai mob, the Thai civil servants, the Thai academic, the Thai royal blood, and upper-class Thais hate the government so much? Answer: Because the government stops them from screwing the poor.

Joke Eighteen: How comes the Thai mob gets away from doing so many illegal things? Answer: Because the Thai courts likes getting it up the butt from the Thai mob.

Joke Nineteen: Why is the Thai government so weak? Answer: Because it was gang-banged too many times by those in the alliance for dictatorship.

Joke Twenty: What is the future of Thailand? Answer: Going from a developing country, to an under-developed country, to a country waiting for hand-outs, to a basket case of a country.

ที่มา http://thaiintelligentnews.wordpress.com/ (แนะนำโดยคุณทวีวุฒิ จุลวัจนะ)

07 October 2008

Return Home--- but where is my home? (-.-!!)

Finally I finished a master degree from Malaysia. A year away from home while so many things happened when I was away. The first week after I arrived home, I didn't feel like it was the Bangkok I knew. Politic here is still under ambiguity. I was shocked that many legal experts said things in the opposite ways from what they used to believe. I feel like I was betrayed; as the politicians, both elected and wana be, cannot explain what democracy is. I was really --- off when I read more about PDA. Where is the law enforcement? What's the good of having a brilliant constitution without anyone understand it and willing to implement it?

For me, I still believe that democracy has got only one style. There is no Thai style or western style. From what I've learned, the 1997 constitution is still the best one of its kind; and still usable. I don't know what is happening in this beloved country. People easily misunderstand even the crucial democratic concept. Why it is so? If anybody can clear my mind, please let me know. Sigh.. I thought Thailand has got the highest democratic value in Southeast Asia, though there were many coup in its history.

19 March 2008

Muslim and Regional Integration



What I have been studying in class this week is about Islam and globalisation. There are so many lines that separate Muslim thought from the Modern world; I would suggest the modern world is based on the European values which developed from Christianity. However, the point I am making is while the contemporary societies are able to adapt themselves to globalisation, many Islamic societies found difficulty. It may be because of the religion's charactoristic which has a very strong social structure. For now, I am a unknowledgeable student in this field. I am really wonder whether it is true that Islamic charactor does not support multi-culturalism and regional integration. For the sake of ASEAN which has its muslim members as the majority, I do really want to be able to answer such a religion matter ( which many people do not wish to talk about).