20 October 2006

When minority rules majority

ช่วงนี้การบ้านการเมืองเริ่มเกิดอาการเฉื่อย ผมว่าความตื่นตัวด้านการเมืองของผมลดลงมาก อ่าน นสพ.เรื่องการเมืองน้อยลงแต่ใส่ใจกับปรัชญาการเมืองที่มีในอดีตมากขึ้น สำหรับประเด็นที่ผมหยิบมาในวันที่คือ ประชาธิไตยของคนกลุ่มน้อย วันนี้ผมไม่แน่ใจว่าเราถูกปกครองโดยคนกลุ่มน้อยของประเทศหรือเปล่า สังเกตว่าสื่อจะให้ความสนใจกับคนที่ออกมาคัดค้านเป็นพิเศษแต่ไม่ให้น้ำหนักกับคนที่สนับสนุน อันนี้ผมเห็นว่าแปลกมากและไม่มีตรรกะเอาเสียเลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการรัฐประหารได้นายกพระราชทานมา เสียงจากทางฝ่ายไทยรักไทยหายไปเกือบหมด การออกมาชี้แจงของโฆษกพรรคแทบจะไม่มีบทบาทอะไรมากมาย ประเด็นห่วยใต้ดิน การห้ามโฆษณาเหล้า หรือแม้แต่จำกัดอายุผู้ดื่มเหล้า เรื่องที่สื่อออกมามีแต่เห็นด้วย เห็นด้วย และ เห็นด้วย ทั้งๆที่จริงๆในสังคมที่มีเสรีภาพ มันควรแสดงน้ำหนักของผู้คัดค้าน ออกมาเท่าๆกับผู้สนับสนุน ส่วนใครจะเชื่ออย่างไรนั้นเป็นการใช้เหตุผลแบบวิพากษ์วิธี สิ่งที่ผมเห็นในวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้น สื่อไม่ได้ถูกปิดกัน แต่สื่อทำตัวเหมือนกระจกเงาที่แตกเป็นสองส่วน แต่สะท้อนออกมาเฉพาะส่วนที่เป็นส่วนน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปิดกัน ยกตัวอย่างในวันนี้คือการที่ อาจารย์มีชัย ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้ามีส่วนร่วมในสภานิติบัญญัติ ทั้งนี้รวมไปถึง อ.วิษณุและ บวรศักดิ์ด้วย อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯคนหนึ่งให้เหตุผลว่า เพราะคนเหล่านี้ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองขึ้น สำหรับคนที่เคยอยู่ในรัฐบาลก่อนก็สามารถเตือนทักษินได้แต่ไม่ทำ เห็นได้ชัดว่าไม่กล้าแม้เพียงจะขัดแย้งกับอำนาจมืด ว่ากันไปนั้น แม้เหตุผลจะดูตื้นๆและใช้เหตุว่าอะไรที่เกี่ยวพันกับทักษินเป็นผิดไปหมด ไม่ดูผลงานที่เคยทำในอดีตมาชั่งน้ำหนักอย่างนี้จะเป็นธรรมได้อย่างไร สื่อก็แสดงแต่พวกคัดค้าน พวกสนับสนุนไม่เห็นมี แปลกนะ อย่างนี้หรือที่เรียกว่าเสรีภาพของสื่อ
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อในประชาธิปไตยพหุนิยม คือคนส่วนน้อยก็จะต้องมีสิทธิมีเสียงแต่คนส่วนใหญ่ย่อมสำคัญกว่า ไม่ใช่รัฐจะตอบสนองเฉพาะคนส่วนใหญ่ ผมเห็นว่าตอนนี้คนส่วนน้อยปกครองคนส่วนมาก ไม่ใช่ว่ากันโดยระบบผู้แทน แต่เป็นการวัดจากความเชื่อ รัฐบาลเริ่มมีนโยบายแบบรัฐราชการ คือสั่งอย่างเดียว คุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาก คำถามคือ ผู้ใช้อำนาจรัฐตอนนี้เป็นผู้ที่สะท้อนภาพของคนส่วนใหญ่หรือไม่ และ การวางนโยบายของรัฐตอบสนองคนส่วนใหญ่หรือไม่ ประชานิยมกับรัฐสวัสดิการแตกต่างกันอย่างไร หากประชานิยมไม่ดีจริงทำไมรัฐบาลพระราชทานชุดนี้จึงไม่ล้มโครงการต่างๆทิ้งเสีย เราพึงระมัดระวังสิทธิเสรีภาพของเราไว้เถิด อย่าวางใจนักบุญฟ้าประทานเสียหมดหัวใจ.............

3 comments:

Unknown said...

อืม ... น่าคิด

Anonymous said...

เป็นความจริงที่นโยบายเก่าๆของรัฐได้ดำเนินการไว้เฉพาะงานด้านเศรษฐกิจและวิสัยทัศน์การลงทุน มีผลเชิงบวกและควรสานต่อ

หากแต่ปมที่ยิ่งใหญ่และสำคัญสุดที่เป็นปัญหาซึ่งรัฐบาลชุดก่อนได้สร้างขึ้น คือเรื่องที่สังคมขาดความเป็นธรรม เห็นประโยชน์พวกพ้อง และให้ความสำคัญกับกลุ่มที่รักรัฐบาลโดยลืมความเสมอภาคและเท่าเทียมของประชาชน

PuMpz

Tier Etat said...

"ปมที่ยิ่งใหญ่และสำคัญสุดที่เป็นปัญหาซึ่งรัฐบาลชุดก่อนได้สร้างขึ้น คือเรื่องที่สังคมขาดความเป็นธรรม เห็นประโยชน์พวกพ้อง และให้ความสำคัญกับกลุ่มที่รักรัฐบาลโดยลืมความเสมอภาคและเท่าเทียมของประชาชน"

แล้วตอนนี้ไม่มีหรือครับ?? ตลอด 70 กว่าปีของปีกประชาธิปไตยในไทยเราไม่มีปัญหานี้หรือครับ คนที่อยู่ใน คปค. ไม่ใช่พวกพ้องกันหรือครับ ผมว่าบางที่เราเห็นในสิ่งที่เราอยากเห็นหรือไม่ก็ถูกทำให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น
มันเรื่องว่า ใครพวกใคร ใครน้องใครมากกว่านะสำหรับเวทีการเมืองและอำนาจของไทย