20 October 2006

When minority rules majority

ช่วงนี้การบ้านการเมืองเริ่มเกิดอาการเฉื่อย ผมว่าความตื่นตัวด้านการเมืองของผมลดลงมาก อ่าน นสพ.เรื่องการเมืองน้อยลงแต่ใส่ใจกับปรัชญาการเมืองที่มีในอดีตมากขึ้น สำหรับประเด็นที่ผมหยิบมาในวันที่คือ ประชาธิไตยของคนกลุ่มน้อย วันนี้ผมไม่แน่ใจว่าเราถูกปกครองโดยคนกลุ่มน้อยของประเทศหรือเปล่า สังเกตว่าสื่อจะให้ความสนใจกับคนที่ออกมาคัดค้านเป็นพิเศษแต่ไม่ให้น้ำหนักกับคนที่สนับสนุน อันนี้ผมเห็นว่าแปลกมากและไม่มีตรรกะเอาเสียเลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการรัฐประหารได้นายกพระราชทานมา เสียงจากทางฝ่ายไทยรักไทยหายไปเกือบหมด การออกมาชี้แจงของโฆษกพรรคแทบจะไม่มีบทบาทอะไรมากมาย ประเด็นห่วยใต้ดิน การห้ามโฆษณาเหล้า หรือแม้แต่จำกัดอายุผู้ดื่มเหล้า เรื่องที่สื่อออกมามีแต่เห็นด้วย เห็นด้วย และ เห็นด้วย ทั้งๆที่จริงๆในสังคมที่มีเสรีภาพ มันควรแสดงน้ำหนักของผู้คัดค้าน ออกมาเท่าๆกับผู้สนับสนุน ส่วนใครจะเชื่ออย่างไรนั้นเป็นการใช้เหตุผลแบบวิพากษ์วิธี สิ่งที่ผมเห็นในวันนี้ไม่ใช่อย่างนั้น สื่อไม่ได้ถูกปิดกัน แต่สื่อทำตัวเหมือนกระจกเงาที่แตกเป็นสองส่วน แต่สะท้อนออกมาเฉพาะส่วนที่เป็นส่วนน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปิดกัน ยกตัวอย่างในวันนี้คือการที่ อาจารย์มีชัย ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้ามีส่วนร่วมในสภานิติบัญญัติ ทั้งนี้รวมไปถึง อ.วิษณุและ บวรศักดิ์ด้วย อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯคนหนึ่งให้เหตุผลว่า เพราะคนเหล่านี้ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองขึ้น สำหรับคนที่เคยอยู่ในรัฐบาลก่อนก็สามารถเตือนทักษินได้แต่ไม่ทำ เห็นได้ชัดว่าไม่กล้าแม้เพียงจะขัดแย้งกับอำนาจมืด ว่ากันไปนั้น แม้เหตุผลจะดูตื้นๆและใช้เหตุว่าอะไรที่เกี่ยวพันกับทักษินเป็นผิดไปหมด ไม่ดูผลงานที่เคยทำในอดีตมาชั่งน้ำหนักอย่างนี้จะเป็นธรรมได้อย่างไร สื่อก็แสดงแต่พวกคัดค้าน พวกสนับสนุนไม่เห็นมี แปลกนะ อย่างนี้หรือที่เรียกว่าเสรีภาพของสื่อ
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อในประชาธิปไตยพหุนิยม คือคนส่วนน้อยก็จะต้องมีสิทธิมีเสียงแต่คนส่วนใหญ่ย่อมสำคัญกว่า ไม่ใช่รัฐจะตอบสนองเฉพาะคนส่วนใหญ่ ผมเห็นว่าตอนนี้คนส่วนน้อยปกครองคนส่วนมาก ไม่ใช่ว่ากันโดยระบบผู้แทน แต่เป็นการวัดจากความเชื่อ รัฐบาลเริ่มมีนโยบายแบบรัฐราชการ คือสั่งอย่างเดียว คุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาก คำถามคือ ผู้ใช้อำนาจรัฐตอนนี้เป็นผู้ที่สะท้อนภาพของคนส่วนใหญ่หรือไม่ และ การวางนโยบายของรัฐตอบสนองคนส่วนใหญ่หรือไม่ ประชานิยมกับรัฐสวัสดิการแตกต่างกันอย่างไร หากประชานิยมไม่ดีจริงทำไมรัฐบาลพระราชทานชุดนี้จึงไม่ล้มโครงการต่างๆทิ้งเสีย เราพึงระมัดระวังสิทธิเสรีภาพของเราไว้เถิด อย่าวางใจนักบุญฟ้าประทานเสียหมดหัวใจ.............

06 October 2006

พักเรื่องการเมือง มาแนะนำหนังสือน่าอ่าน


ตอนนี้กำลังอ่านเรื่อง โลกของโซฟีอยู่ครับ เป็นหนังสือที่อาจารย์นันท์ แห่ง นิติศาสตร์จุฬาฯแนะนำให้อ่านในวิชา ทฤษฎีกฎหมายมหาชน ตอนแรกก็นึกว่าจะเป็นเรื่องทฤษฎีการเมือง แต่พออ่านแล้วก็เข้าใจเหตุผลที่อาจารย์แนะนำครับ คือหนังสือเล่มนี้จะปูพื้นฐานให้เราเข้าใจแนวคิดแบบชาวตะวันตก วิธีคิดและการเข้าใจโลกของพวกเขาต่างกับชาวตะวันออกอย่างเราทีเดียวครับ ผมไม่อยากบอกว่าในหนังสือเล่มนี้มันเขียนว่าอย่างไร อยากให้ไปหาอ่านกันเอาเองมากกว่าครับ โดยเฉพาะพวกที่เรียนสายสังคมศาสตร์ที่เอาแนวคิดตะวันตกมาตั้ง หากได้อ่านแล้วจะทำให้รู้วิธีคิดอย่างชาวตะวันตก และทำให้เราเห็นตัวเราชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะการมองปรัชญาแบบมหภาคครับ เล่มนี้ทำให้ผมเข้าใจอะไรๆขึ้นเยอะบนโลกใบนี้ หากได้อ่าน "ไอสไตน์ถามพระพุทธเจ้าตอบ" มาก่อนแล้ว เราทึ่งเลยว่าพระพุทธเจ้าอธิบายเรื่องที่ชาวตะวันตกใช้เวลาหลายศตวรรษในการให้เหตุผลได้โดยคำพูดเพียงไม่กี่คำ
ลองหาอ่านดูนะครับ ราคาไม่แพงเลย นับว่าราคาถูกมากหากเทียบกับนวนิยายที่ขายกันทั่วไป (ราคาไม่ถึงบัตรเติมเงิน 30 วันด้วยซ้ำ)


รายละเอียดโปรดคลิก http://www.tarad.com/kledthaishopping/product.detail.php?lang=th&id=145309#

05 October 2006

เช็ค บิล!


คราวใครก็คราวมันละครับ ไม่รู้ว่าคำว่ายุติธรรม เป็นกลาง เป็นธรรม ตอนนี้มันคืออะไร อยากไห้อ่านความเห็นของ etat de droit วันที่ 3 ตุลาคม 2549 นะครับ สำหรับผมเห็นว่าการที่จะเอาคนที่มีอคติเป็นการส่วนตัวมาทำการตรวจสอบเป็นความไม่เป็นธรรม และไม่เป็นกลางอย่างยิ่งเนื่องจากความเป็นอคตินี้เองจะเป็นเครื่องบังตา ทำให้ไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น เปรียบได้ดั่งการใส่แว่นสีที่นักกฎหมายรุ่นต่อรุ่นย้ำเป็นหนักหนาว่าจะทำให้พิจาณาข้อเท็จจริงผิดพลาด เมื่อขอเท็จจริงยังพลาด ข้อกฎหมายก็ต้องเพี้ยนเป็นธรรมดา ผมเห็นว่าการตรวจสอบทุจริตเป็นเรื่องดี ดีมากๆเลยด้วย แต่การที่จะให้คนดีถือดาบไปทะลวงฟันโดยไม่มีคู่มือการใช้ดาบ หรือกฎเหล็กให้อัศวินต้องเคารพ อัศวินเหล่านั้นวันหนึ่งคงจะเพลินในอำนาจที่มีอยู่ จากนั้นผู้อ่านก็คงรู้จากบทเรียนที่เพิ่งผ่านไปแล้วว่าอะไรจะเกิดอะไรต่อไป
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการติดดาบให้สตง.ในคราวนี้ เนื่องจากตาม รธน.40 จัดให้ คตง.เป็นคนที่มาควบคุม สตง. เป็นการคานและดุลอำนาจ ตรวจสอบกันเองในองค์กร เมื่อ คปค.ฉีก พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ สตง. หมวด1 ทิ้ง หมวดอื่นๆเลยเป็นการให้อำนาจแก่ สตง.เพียงถ่ายเดียว น่ากลัวนะครับหากว่าจะมีองค์กรใดที่มีอำนาจสูงสุดโดยปราศจากการตรวจสอบและถ่วงดุล ผมอยากจะให้มองกันที่ระบบมากกว่ามองกันที่คน จริงอยู่ที่เมื่อได้คนดีมาบริหารประเดี๋ยวระบบมันก็ดีตามมาเอง แต่สิ่งที่คนหลายๆคนลืมคิด หรือไม่เชื่อคือ มนุษย์มันเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเอาแน่เอานอนไม่ได้หรอก ระบบที่ดีจะทำให้คนดีอยู่ได้ คนชั่วทำชั่วไม่ได้ ตอนนี้เราให้ความสำคัญกับ"คน"ซะจนลืมให้ความสำคัญกับระบบ ตัวอย่างเช่น ตั้งนายกพระราชทานฯได้แล้ว กำลังตั้งครม.ใหม่ จนวันนี้ยังไม่ยกเลิกประกาศที่ห้ามบุคคลชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนเลยละครับ
อย่างไรก็ดีผมก็ดีใจที่ได้นายกฯใหม่ที่ดี มีคุณภาพ หากนายกฯจะลงเล่นการเมืองตามปรกติผมก็คงจะได้เสียงข้างมากไม่ยากนัก เราควรสงสัยว่าทำไมคนดีๆอย่าง นายกฯ หรือ บุคคลที่สังคมเคารพจึงไม่ยอมลงมาบริหาร ไม่ยอมลงสนามการเมือง มีแต่คนที่อยากจะกอบโกยประโยชน์ หรืออยากมีอำนาจที่ลงงสนามการเมือง เราน่าจะมีวิธดึงคนดีเข้าสู่ระบบการเมืองที่ดีกว่า การแต่งตั้ง สว.พระราชทานนะครับ ฤาประเทศไทยจะไม่เหมาะกับการปกครองแบบประชาธิปไตยพระราชทานจริงๆ