ก่อนอื่นต้องขอเริ่มจับกระแสเลือกตั้ง 2550 ที่ผ่านมาก่อนนะครับ เลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมใช้สิทธินอกราชอาณาจักร ตื่นเต้นดีเหมือนกันครับ กระบวนการก็ยุ่งยากกว่าเลือกตั้งในประเทศอยู่เล็กน้อย ขั้นแรกเริ่มจากต้องไปลงทะเบียนว่าจะใช้สิทธินอกราชอาณาจักรที่สถานฑูตก่อนการเลือกตั้งประมาณสองสัปดาห์(ตามประกาศของสถานฑูต) จากนั้นก่อนวันเลือกตั้งซักสามวันก็ไปตรวจสอบว่าย้ายทะเบียนมาอยู่ที่สถานฑูตกัวลาลัมเปอร์จากเวปไซค์ของกกต.ครับ ขั้นตอนนี้ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไร พอถึงวันเลือกตั้งจริงก็ปรากฎว่าไม่มีชื่อ ทำให้ใช้สิทธิไม่ได้ ผมเห็นอยู่เป็นกลุ่มๆเหมือนกันที่มาลงคะแนนแต่ปรากฎว่าไม่ได้ลงทะเบียนว่าจะใช้สิทธิ เจ้าหน้าต้องอธิบายกันยาวกว่าจะเข้าใจกัน อันนี้ผมว่ามันเป็นหน้าที่ของคนไทยนะครับที่ต้องติดตามกันเอาเอง ที่มาเลนี้เลือกตั้งกันตั้งแต่วันที่ 12-16 ธันวา ครับ ที่เลือกตั้งก่อนก็เพราะว่าต้องส่งบัตรไปนับที่ประเทศไทย กระบวนการการเลือกปีนี้ค่อนข้างจะสับสนที่เดียว เริ่มจากไปตรวจสอบเขตของตัวเอง ตรวจจำนวนผู้รับสมัครสส.ที่สามารถเลือกได้ บางเขตก็คนเดียวบางเขตก็สามคน ก็ลองคิดดูละกันครับเลือกตั้งในต่างประเทศ กรรมการการเลือกตั้งที่นี้ต้องตรวจทุกเขตในประเทศไทย เพราะคนไทยในมาเลมาจากทุกจังหวัดจริงๆ จากนั้นก็ต้องไปเปิดบัญชีผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำหมายเลขที่ตนจะเลือก จำหมายเลขพรรคที่ตนจะเลือก จากนั้นก็ไปเข้าคูหาเลือกตั้งครับ ที่คูหาก็คล้ายๆกับในประเทศละครับ เพียงแต่ว่ากล่องบังตาจะเป็นสีขาวแทนที่จะเป็นสีเขียว แล้วที่พิเศษขึ้นมาคือเราจะได้ซองขาวมาคนละใบ กาบัตรเลือกตั้งเสร็จก็พับใส่ซองแล้วนำซองไปให้เจ้าหน้าที่ลงนามกำกับผนึก จากนั้นก็ไปหย่อนลงกล่อง เป็นอันจบพิธีครับ
ข้อสังเกตการเลือกตั้งคราวนี้คือ
1.บัตรเลือกตั้งสับสนมากครับ โดยเฉพาะแบบบัญชีพรรค ผมละงงเลย มีแต่หมายเลขไม่มีโลโกพรรคการเมือง อ้าวทีตอนเลือกตั้งครั้งก่อนๆยังมีตราโลโกให้เห็นว่าหมายเลขใดเป็นพรรคใด ทำไมปีนี้ไม่มีละ แถมในคูหาก็ไม่มีบอกว่าหมายเลขใดพรรคใด ถ้าใครไม่ได้จำเบอร์มา หรือว่าเกิดตื่นเต้นจำเบอร์ไม่ได้ก็แย่เลยนะครับ
2.บัตรแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ อันนี้งงสุดๆครับ สมมติว่าเลือกได้สามคนแล้วผมอยากจะเลือกเบอร์ที่ไม่เรียงกัน ก็ต้องจำเข้าไป เป็นเลขหกหลัก แล้วถ้าจำผิดละ?? ที่ต่างประเทศแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์นี้ยุ่งใหญ่เพราะตอนไปดูผู้สมัครเขตตัวเองแล้ว หากดูผิดเขตก็จบกันเลยละครับ เพราะต่างเขตก็ต่างเบอร์ มั่วกันไปหมด
3.หากกาเกินจะนับอย่างไร ถือเป็นบัตรเสียหรือเปล่า?? แล้วถ้ากาผิด แล้วอยากเปลี่ยนใจขีดฆ่าอันเก่าไปกาอันใหม่ อย่างนี้บัตรเสียหรือเปล่า (แน่นอนครับลงนามกำกับไม่ได้อยู่แล้ว)
หากถามความรู้สึกจริงๆ ผมว่าผมชอบการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ตาม ร.ธ.น.40 ฉบับเก่ามากกว่า ผมว่ายุติธรรมกว่าอันใหม่นี้อีกนะครับ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คล้ายๆกับว่าเป็นการตั้งกติกาใหม่เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อใครบางคนเท่านั้น หากจะวัดกันในเชิงคุณภาพและความชอบธรรม ผมว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐที่ใช้ในการเลือกตั้งตาม 40 งามกว่าแยะ
ก่อนจากกันก็ Merry Christmas & Happy New Year ครับ ขอให้มีความสุข รับฟ้าใหม่ รัฐบาลใหม่ละกันนะครับ เฮอออออ............
4 comments:
อืิม
เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่นี้
มีปัญหาทั้งเชิงเทคนิคและเชิงความรู้สึกมากนัก
เราพูด ๆ ไปบ้่างแล้ว
ที่ไม่สบอารมณ์อย่างแรงคือให้ ส.ส. สัดส่วนมีแค่ 80 แทบไม่เกิดประโยชน์เลย
Happy New Year Krub.
หวัด ดี ก๋าบบ พี่ ป๋ม แวะ เข้ามา เยี่ยม อีกบล็อกนึง ..
พี่ อยู่ ที่ มาเล เหยอ ก๋าบบบบ ....
This is great info to know.
Post a Comment