22 December 2006

คนปลูกข้าวกับมหาลัยของรัฐ

ผมขอเปิดประเด็นถึงความจำเป็น ที่มหาวิทยาลัยจำต้องออกนอกระบบราชการ สาเหตุหลักๆ ก็คือ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ อันนี้หมายถึงว่าในระดับโลก ไม่ใช่แค่เป็นเลิศในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ หรือ มหิดล ฯลฯ เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นเลิศในสาขาต่างๆ แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี หากไปเทียบในระดับโลกแล้วจะเห็นได้ว่ามีเพียงจุฬาฯ เท่านั้นที่ติดอันดับ Top 200 และกำลังหล่นลงในไม่ช้า

ความจำเป็นประการแรกที่มหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบคือ ระบบราชการที่ออกแบบมาเป็นสูตรสำเร็จสำหรับทุกกระทรวง ทบวง กรม ไม่เหมาะสำหรับ องค์กรเพื่อการเรียนรู้และผลิตบัณฑิต

อาจารย์ต้องการเสรีภาพทางความคิด ในทางปฏิบัติแม้ว่าอาจารย์จะได้รับการยกเว้น ไม่มีคำบังคับบัญชามามากมายนัก แต่อย่างไรก็ดีการทำงานในด้านนโยบายกลับไม่เป็นเช่นนั้น รัฐบาลมักเข้าแทรกแซงกิจการของมหาวิทยาลัยเป็นระยะๆ เมื่อการบริหารขาดความเป็นอิสระแล้วไซ้ร กระไรเลยที่จะนำความคิดอิสระของคณาจารย์มาลงสู่การปฏิบัติ ดังนั้นการออกนอกระบบราชการหมายถึงการนำมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นที่รวมของปัญญาชนออกมาจากสายบังคับบัญชาของข้าราชการและนักการเมือง

มหาวิทยาลัยจำต้องมีคนเก่งและมีความสามารถที่จะรักษาคนเก่งเหล่านั้นไว้นานที่สุด อาจารย์ที่เก่งๆ ยิ่งอยู่นานเท่าไรก็ยิ่งเก่ง ผิดกับอาจารย์ที่เคยเก่งแต่อยู่ไปนานๆก็ยังคงสอนแต่ความรู้ที่ตนเรียนมา ตกยุคไปแล้วก็ยังขุดมาสอน ลองไปดูอาจารย์ใหม่ๆซิครับ อัตรานักเรียนทุนที่จบจากเมืองนอกแล้วมาเป็นอาจารย์ หมดภาระใช้ทุนเมื่อไรก็ลาออกไปอยู่ภาคเอกชน หรือไม่ก็ไปสอน ม.เอกชน ความมั่นคงของรัฐกับความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมันไม่ได้ไปด้วยกันในระบบราชการ เมื่อเราออกนอกระบบราชการ มหาวิทยาลัยสามารถจัดอัตรากำลังอาจารย์ให้ไปสอนยังมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ตามกฎหมาย นั้นหมายความว่า มหาลัยก็ได้ อาจารย์ก็หากินได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่ใช่เหมือนทุกวันนี้ที่อาจารย์หลายๆคนโกงเวลาราชการไปสอน ม.เอกชน
หากลองคิดถึงความคุ้มค่าจะเรียกได้ว่ามหาลัยในยามนี้ขาดทุนมากๆ เพราะเป็นคนสร้างนักเรียนทุน บ่มเพาะอาจารย์ แต่เมื่ออาจารย์เหล่านั้นมีความสามารถเป็นที่ต้องการของสังคมกลับถูกซื้อตัวไปด้วยราคาที่จัดว่าถูกมาก และมีแรงจูงใจให้อาจารย์ทุมเทการสอนมากกว่าใน มหาลัยในระบบราชการอีกด้วย
ตรงนี้ผมเปรียบเหมือนกับชาวนา ชาวนาปลูกข้าวด้วยความพิถีพิถัน ดูแลกล้าแต่และต้นแต่ละแปลง แต่พอข้าวเผยรวงทอง ก็มีนายทุนเจ้าของโรงสีมาเก็บเอาข้าวไปขาย ชาวนาจะกินข้าวก็มาตำครกกันไป แล้วคิดตามละกันว่าข้าวจากครกของชาวนา กับข้าวที่ออกจากโรงสี ของใครจะมีคุณภาพดีและขายได้ดีกว่ากัน

หากวันนี้มหาลัยไทยยังตำครกกันอยู่ก็เห็นที่จะแพ้เพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้กันหมดใน 10-20 ปีข้างหน้า สิงคโปร์วันนี้อยู่ในอันดับ top 100 เวียดนามกำลังเร่งพัฒนาตามเรามาติดๆ มาเลย๋วันนี้ก็เข้า win มาถึง 2 มหาวิทยาลัย แล้วเราละ?? อย่าลืมนะว่า จุฬาฯ ที่ ร.6 พระราชทานมาให้ เกิดขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแรกในภูมิภาคนี้เลยนะครับ แล้ววันนี้เราทำอะไรกันอยู่ อยู่ในระบบผู้บริหารบริหารกฎหมาย และระเบียบราชการ
ออกนอกระบบคงได้เริ่มบริหารการศึกษากันเสียที

3 comments:

Unknown said...

อันนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมานานหนะนะครับ

การออกนอกระบบน่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่ "หลีก" ออกจากระบบราชการ (ของไทย)ที่ไม่เหมาะแก่การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Anonymous said...
This comment has been removed by a blog administrator.
Anonymous said...
This comment has been removed by a blog administrator.