12 December 2006

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ

ข่าวคัดค้านมหาลัยออกนอกระบบ
http://www.komchadluek.net/2006/12/08/a001_72730.php?news_id=72730


ก่อนอื่นต้องขอโทษที่ไม่ได้มา Post เสียนาน ช่วงนี้งานยุ่งมากๆอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทำงานเหมือน Law Firm แต่รับเงินแบบราชการ แย่เหมือนกันนะครับ งานส่วนใหญ่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอร่าง พรบ.จุฬาฯ ออกนอกระบบ แต่ก่อนตอนเป็นนิสิตก็เคยค้านการออกนอกระบบ ไม่นึกว่าวันหนึ่งจะต้องเข้ามาจับเรื่องนี้อย่างหลีกเสียไม่ได้ เหตุผลการออกนอกระบบฝ่ายมหาลัยผมคิดว่าฟังขึ้นมากกว่าฝ่ายค้านนะครับ หลังจากที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมาระยะหนึ่ง เห็นระบบราชการที่เรียกว่า "เช้าชามเย็นครึ่งชาม" แล้วก็ท้อใจ มันจะติด 1 ใน 100 มหาลัยโลกใดอย่างไรหากระบบบริหารงานมหาลัยยังใช้ระบบราชการ ทรัพยากรบุคคลในตอนนี้แทบจะเรียกว่าไม่ส่งเสริมด้านคุณภาพเสียเลย หากผมได้เห็นการทำงานทางฝ่ายวิชาการแล้วคงจะมีแผลอีกเยอะที่ต้องรักษา
ประเด็นแรก ฝ่ายที่ค้านการออกนอกระบบมักจะยกประเด็น "แปรรูปมหาวิทยาลัย" มาเสนอ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่การแปรรูปแต่อย่างไร การออกนอกระบบไม่ใช่การ "Privatization" หรือการแปรรูปเป็นเอกชน การออกนอกระบบพนักงานมหาวิทยาลัยก็ยังเป็นพนักงานของรัฐเพียงแต่ออกไปไม่อยู่ในบังคับบัญชาของ กระทรวงศึกษาซึ่งเป็นราชการส่วนกลางก็เท่านั้น แค่ประเด็นนี้หากจะอธิบายให้คนที่ค้านเข้าในก็คงต้องยกกฎหมายมาว่ากันอย่างน้อย 4 ฉบับ และต้องอธิบายอีกว่า Privatization คืออะไร
ประเด็นที่สอง คือ เสรีภาพทางวิชาการ การแสดงความคิดเห็นของอาจารย์ พนักงาน เรื่องนี้ก็ถูกบิดเบือน หากจะวัดกันจริงๆแล้วการออกนอกระบบจะเป็นการเปิดเสรีภาพมากกว่าที่จะปิดกั้นเสรีภาพนะครับ เพราะอาจารย์จะไม่อยู่ภายใต้ระเบียบ ก.พ. อีกต่อไป วินัยต่างๆของข้าราชการก็ไม่จำกัด ผมเห็นว่าเป็นพนักงานนี้เสรีภาพมากกว่าเห็นๆ
ประเด็นที่สาม ประเด็นนี้เป็นประเด็นทางสังคม คือ หากออกนอกระบบแล้วนักเรียนจนๆจะไม่มีที่เรียน ข้อนี้ต้องเขียนในฐานะศิษย์เก่าจุฬาฯ ผมบอกได้เลยว่าปัจจุบันนิสิตที่จนจริงๆในจุฬาฯ หายากเต็มทน และส่วนใหญ่ที่จนก็เป็นพวกที่ได้รับทุน คนจนในมหาลัยประมาณเอาผมว่าไม่น่าจะเกินร้อยละ 10 เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าระบบ Entrance มันกำหนดฐานะเด็กในมหาลัย ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า กว่าจะเอ็นฯเข้าจุฬาฯได้ นิสิตนั้นต้องใช้ทุนในการเรียนกวดวิชา ถึงหากไม่เรียนก็ต้องมี Tutor ที่ดี มีข้อมูล มีหนังสือ หรือช่องทางในการกวดวิชา สิ่งเหล่านี้มีต้นทุนครับ ผมเองก็ไม่ได้เรียนกวดวิชาแบบเอาเป็นเอาตาย ลงไปแค่ 2 courses ยังหมดไปหลายพัน หากนับรวมกับสื่ออื่นๆที่ใช้ในการทบทวน ก็เป็นหมื่นละครับ แล้วคิดหรือว่าคนจนๆจะเอ็นฯติด ถึงมีก็มิใช่ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดีมหาลัยก็มีทุนที่ดึงเอาเด็กจากต่างจังหวัดมาเรียนอยู่แล้ว ไม่เชื่อลองไปหาดูที่หอในดูก็ได้ครับมีเยอะ ฉะนั้นผมเห็นว่าข้ออ้างนี้ฟังไม่ขึ้น

วันนี้พ่นมาเยอะแล้ว เอาไว้มีโอกาสจะมาระบายให้อ่านอีกนะครับ

1 comment:

Unknown said...

เห็นด้วย ครับ

ระบบราชการของไทยมีขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่คล่องตัว เต็มไปด้วยกฎระเบียบและขั้นตอน "(โต๊ะ)" กว่าจะดำเนินเรื่องอะไรสักอย่างเสร็จต้องผ่านหลาย "โต๊ะ"

แต่พอมีปัญหาขึ้นมาจะหา "โต๊ะ" ไหนรับผิดชอบก็ไม่มี